Tag

ผู้สูงอายุ

Browsing

น้ำตาล เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับคำนี้อยู่แล้วเรื่องความอร่อย แต่หากกินของหวานหรือของที่มีน้ำตาลมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของเราได้ เพราะเวลาที่เราได้รับความหวานหรือน้ำตาลจากอาหาร น้ำตาลจะทำให้รู้สึกดี นั่นจะทำให้สมองจดจำไปโดยอัตโนมัติว่าหากอยากรู้สึกดี จะต้องหาของหวานหรือน้ำตาลกิน หากมีอาการโหยหาของหวาน ๆ ตลอดเวลานั่นแปลว่า คุณนั้นกำลังจะเป็นโรคติดหวานนั่นเอง บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำว่า ติดหวาน ว่าเป็นอย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง อาหารติดหวานนี้จะทำให้เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้อีกบ้างไหม แล้วเราจะมีวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการติดหวานได้อย่างไร


ติดหวานอาการเป็นอย่างไร

ติดหวาน

หลาย ๆ คนเวลากินของหวานหรือของที่มีน้ำตาลจะมีความรู้สึกสดชื่น จริง ๆ แล้วนั้นน้ำตาลจะไปช่วยทำให้เรามีแรงเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งอีกด้วย แต่หลังจากนั้นไปก็จะเกิดการหลั่งของสารเซโรโทนินที่ทำให้มีอาการง่วงนอนนั่นเอง มีงานวิจัยหนึ่งได้บอกเอาไว้ว่าหากกินน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้หิวเร็ว และหิวบ่อย หิวมากกว่าเดิม เพราะว่าน้ำตาลจะไปทำให้ฮอร์โมนเลปตินลดน้อยลง ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นฮอร์โมนที่ออกมาหลังจากที่เราอิ่มแล้ว นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมว่าเราถึงไม่อิ่มสักที แล้วถ้ารับประทานน้ำตาลมากเกินไป น้ำตาลจะถูกเปลี่ยนเป็นไกลโคเจนซึ่งจะถูกเก็บไว้ที่ตับ แล้วจึงค่อยนำกลับไปที่กระแสเลือดอีกครั้ง

และสุดท้ายก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันที่ไปสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หน้าท้อง ต้นขา สะโพก หากสะสมมากเข้าจะทำให้น้ำหนักตัวเกิน หากยังไม่ยอมเลิกรับประทานน้ำตาลอีกล่ะก็จะทำให้กรดไขมันพวกนี้ไปพอกที่หัวใจ ตับ ไต ทำให้อวัยวะในร่างกายเสื่อมสภาพลงไปเรื่อย ๆ แล้วโรคภัยไข้เจ็บก็จะตามมา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราเริ่มมีอาการติดหวาน ในเบื้องต้นจะมีการสังเกตอาการดังนี้

  • รู้สึกอยากกินแต่ของหวาน เช่น ขนม ผลไม้
  • เวลาไม่ได้กินของหวานแล้วจะรู้สึกไม่ดี เหนื่อย หงุดหงิดง่าย
  • หิวบ่อย หรือจะคิดถึงแต่ของกินอยู่เสมอ
  • หลังทานอาหารจะต้องได้ทานของหวานทุกครั้ง
  • จะเติมน้ำตาลในอาหารคาวทุกครั้ง
  • ดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 1 แก้วต่อวัน

สาเหตุของอาการติดหวาน

ติดหวาน

เกิดจากการรับประทานของหวานเข้าไปแล้วน้ำตาลไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขที่มีชื่อว่า โดพามีน จนเกิดการเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับคนที่กำลังอยู่ในภาวะเครียดเรื้อรัง นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ตามกลไกของร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลผิดปกติ ทำให้มีความอยากของหวานหรือของที่มีไขมันเพิ่มมากขึ้น แล้วยิ่งถ้าของหวานที่กินมีรสชาติที่ไม่มาก ไม่จัดก็จะยิ่งทำให้ไม่อิ่มสักที บางคนก็มีอาการติดหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์ บางคนที่ติดน้ำตาลพบว่ามียีนส์ที่ติดหวานมาจากบรรพบุรุษรวมถึงเรื่องการเลี้ยงดูของคนในบ้านด้วย

หากบ้านนั้นเป็นบ้านที่ไม่ค่อยมีวินัยในการกิน ก็ยากที่จะปลูกฝังให้เด็กเป็นคนรักสุขภาพ และสิ่งที่เราคุ้นเคยที่สุดนั้นคือ หากกินหวานเยอะเป็นโรคอะไรได้หลายอย่าง เราอาจจะกลายเป็นโรคเบาหวานได้ แต่จริง ๆ แล้วโรคเบาหวานไม่ได้เกิดจากการกินของหวานเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะแบ่งโรคเบาหวานแต่ละประเภท ดังนี้

  • เบาหวานประเภทที่ 1 เป็นส่วนน้อย มีประมาณร้อยละ 5 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานในประเทศไทย ประเภทนี้เกิดจากตับอ่อนในร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ จึงทำให้ต้องได้รับอินซูลินเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดอินซูลิน และช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงจนเกินไป เพราะอาจหมดสติ และเสียชีวิตได้ มักพบในเด็กและวัยรุ่น
  • เบาหวานประเภทที่ 2 จัดได้ว่าแทบจะเยอะที่สุดในทุกประเภท เพราะมีถึงร้อยละ 95 ของคนที่เป็นโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่มักจะเจอในกลุ่มคนที่มีอายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป และร่างกายเกิดสภาวะการดื้ออินซูลิน ส่วนใหญ่เบาหวานประเภทนี้จะไม่แสดงอาการอย่างเฉียบพลัน แต่หากขาดการควบคุม ก็อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอย่างมากได้
  • เบาหวานประเภทที่ 3 เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
  • เบาหวานประเภทที่ 4 เป็นเบาหวานประเภทที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ความผิดปกติของสารในพันธุกรรม, ยา, โรคทางตับอ่อน cystic fibrosis

สาเหตุของโรคเบาหวาน จึงมีมากกว่าการกินหวานมากๆ เช่น

  • กรรมพันธุ์
  • น้ำหนักเกิน อ้วน ขาดการออกกำลังกาย
  • อายุที่มากขึ้น เสี่ยงเบาหวานมากขึ้น
  • เป็นผู้ป่วยโรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ หรือเคยได้รับการผ่าตัดตับอ่อน
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งมีผลต่อการทำงานของตับอ่อน
  • การได้รับยาบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นหรือการตอบสนองของอินซูลินได้ไม่ดี
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน

ติดหวานเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

ติดหวาน

จะเห็นได้ว่าระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาล มีความเกี่ยวข้องกัน จากการศึกษาพบว่าโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่รับประทานน้ำตาลในปริมาณมากจะมีระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี และไขมันในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับคนทั่วไป เพราะว่า การรับประทานน้ำตาลในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ร่างกายกระตุ้นการทำงานของตับที่ผลิตคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีมากขึ้น แล้วยังจะไปทำให้การยับยั้งคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีน้อยลงด้วย สิ่งที่ตามมาคือ ความอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตับ ไต ฟันผุ ไขมันในเลือดสูง ไขมันพอกในหัวใจ โรคเกาต์ กรดยูริกในเลือดสูง


ติดหวานแก้ไขและป้องกันได้อย่างไร

ติดหวาน

  • ลดหวานแบบไม่เร่งรีบ ค่อยเป็นค่อยไป เป็นการลดปริมาณน้ำตาลลงทีละเล็กน้อย เช่น ลดปริมาณน้ำตาลในอาหารหรือเครื่องดื่มลงครึ่งหนึ่งจากปริมาณปกติ ซึ่งไม่แนะนำให้หยุดการรับประทานน้ำตาลเลยทันที เพราะอาจทำให้ร่างกายโหยหาน้ำตาลและเราไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ ทำให้กลับมารับประทานน้ำตาลและอาจรับประทานในปริมาณมากกว่าเดิมรวมทั้งยังส่งผลเสียตามมาอีก เช่น อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราควรลดปริมาณน้ำตาลลงในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายคุ้นชินกับปริมาณน้ำตาล
  • ดื่มน้ำเปล่า แทนการดื่มน้ำหวาน การดื่มน้ำเปล่าน้อยเกินไปก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ร่างกายของเราขาดน้ำและยังอาจทำให้หิวบ่อย อาจเกิดอาการหิวแบบโหยหาของหวาน จึงเป็นสาเหตุในการเลือกรับประทานน้ำหวานแทนเพราะคิดว่าร่างกายต้องการน้ำตาล
  • รับประทานผักใบเขียว เพราะผักใบเขียวให้หลากหลายชนิด เช่น คะน้า กวางตุ้ง บล็อกเคอรี่ ผักบุ้ง เพราะเป็นอาหารที่มีแคลอรีต่ำ อีกทั้งยังมีเส้นใยอาหารสูง ช่วยในการดูดซึมน้ำตาลช้าลงจึงช่วยให้ร่างกายดึงน้ำตาลไปใช้ได้ในปริมาณที่เหมาะสมและพอดี
  • รับประทานอาหารให้หลากหลายมากขึ้น อาหารที่ผู้สูงอายุควรกิน คือการรับประทานอาหารหลากหลายนอกจากจะได้รับสารอาหารที่ครบ 5 หมู่แล้วที่มีทั้งข้าว โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน โดยเฉพาะโปรตีนและไขมัน ที่จะช่วยให้ระดับน้ำตาลคงที่ ยังทำให้ร่างกายอิ่มนานมากยิ่งขึ้น แถมยังช่วยลดอาการอยากของหวาน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และทำให้รู้สึกอิ่มได้นาน มากกว่ากินข้าวหรือแป้งที่มีแต่คาร์โบไฮเดรต
  • ลดการเก็บตุนของหวาน หนึ่งในสาเหตุที่มีส่วนทำให้คุณติดของหวานนั่นคือ การที่คุณซื้อของหวานมาติดไว้ที่บ้านบ่อย ๆ การควบคุมของหวานที่ดีที่สุดคือการอ่านฉลากก่อนซื้อเพราะจะทำให้เรารู้ได้ว่าของแต่ละชิ้นนั้นมีน้ำตาลหรือความหวานเท่าไหร่
  • การหาอะไรทำเพื่อลืมของหวาน ถ้าเกิดว่าคุณเป็นคนคนหนึ่งที่ติดการกินหวานมาก ๆ ให้ลองหาอะไรทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย เพราะเวลาที่เราหาอะไรทำหลังจากที่มีความรู้สึกอยากจะกินของหวาน ก็จะทำให้ลืมไปได้ว่าอยากกินของหวานอยู่ นอกจากนี้การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นฮอร์โมนอารมณ์ดีแบบเดียวกันกับที่เราได้กินของหวานแล้ว

เรียกว่านํ้าตาลมีประโยชน์กับเราอยู่มาก ถ้าหากเราสามารถรับประทานน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันได้ แต่คนส่วนใหญ่มักทานน้ำตาลเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการโดยไม่รู้ตัว เพราะในเครื่องดื่มต่าง ๆ ใส่น้ำตาลเกินกำหนดที่ร่างกายต้องการไปมากถึง2-3เท่า จึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ถ้าเรารู้จักควบคุมและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่ลืมที่จะออกกำลังกายเราก็สามารถมีสุขภาพที่ดีแถมยังห่างไกลโรคได้


อ้างอิง          

วิธีดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกต้องและสุขภาพดีทั้งกายใจ

“ผู้สูงอายุ” เป็นวัยที่ลูกหลานต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมสมรรถภาพไปตามกาลเวลา รวมไปถึงสภาวะจิตใจที่บอบบางอ่อนไหวได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ ทำให้คนในครอบครัวต้องคอยดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ดังนั้น หากเรามีความรู้และทักษะในการรับมือ และมี วิธีดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีสภาพร่างกาย และจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน พร้อมอยู่กับคนในครอบครัวอย่างยืนนาน


เมื่อต้องดูแลผู้สูงอายุควรเตรียมตัวอย่างไร

วิธีดูแลผู้สูงอายุ

เมื่อต้องดูแลผู้สูงอายุ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงและเตรียมตัว นั่นคือ การศึกษาความรู้เพื่อให้มีความเข้าใจในผู้สูงอายุ ทั้งร่างกายและอารมณ์ที่ผู้ดูแลจะต้องรับมือ เนื่องด้วยสภาพอารมณ์ที่อาจจะมีการแปรปรวน หลงลืม หรือวิตกกังวล และสุขภาพร่างกายที่เสื่อมโทรม เพื่อที่เราจะได้รักษาได้ในเบื้องต้น

พร้อมกันนี้ผู้ดูแลก็จะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สภาวะอารมณ์แจ่มใสละเว้นจากความเครียด ก็จะทำให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนะนำ การดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี


วิธีดูแลผู้สูงอายุ ให้สุขภาพดีทั้งกายใจ

วิธีดูแลผู้สูงอายุ

1. สภาพแวดล้อมที่ดี

สำหรับสภาพแวดล้อมถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวิธีดูแลผู้สูงอายุ และเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยจะต้องปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดีสดชื่น ร่มรื่น เพราะนั่นจะทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกที่ผ่อนคลายมีคุณภาพชีวิตที่ดี

2. ควบคุมเรื่องอาหาร

ในเรื่องของอาหารการกิน เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับดูแลผู้สูงอายุ ในการที่จะให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่เพียงพอและครบถ้วน ถูกสุขอนามัยตามหลักโภชนาการ และเน้นอาหารที่ค่อนข้างย่อยง่าย ไขมันต่ำ

3. หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ

เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยด้วยเช่นกัน เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นกระดูก หรือกล้ามเนื้อ ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมสมรรถภาพช้าลง รวมถึงระบบไหลเวียนต่าง ๆ ให้มีระบบหมุนเวียนที่คล่องตัวมากขึ้น โดยการออกกำลังกายอาจจะเป็นการเดิน การยืนแกว่งแขน บริหารกายภาพ อย่างน้อยวันละ 10 – 20 นาที จะทำให้สุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุแข็งแรงมากขึ้น

4. ควบคุมน้ำหนักตัว

การควบคุมน้ำหนักตัว เป็นสิ่งที่ควรต้องพึงกระทำ เนื่องจากการที่ผู้สูงอายุมีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป อาจเป็นการส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา พร้อมกันนี้การควบคุมน้ำหนักจะช่วยลดในเรื่องของปัญหาข้อและกระดูกอีกด้วย

5. หากิจกรรมทำร่วมกัน

ในวัยของผู้สูงอายุในบางราย เกิดสภาวะอารมณ์แปรปรวน ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์น้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกเหมือนไม่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ซึ่งอาการนี้อาจทำให้สภาพจิตใจนั่นแย่ลง การหากิจกรรมทำร่วมกัน หมั่นหากิจกรรมที่มีประโยชน์ได้ทำร่วมกัน สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว นอกจากนั้น ยังเป็นการผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย

6. หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี

อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรละเลยในการดูแลผู้สูงอายุ นั่นก็คือ การพาไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ที่อาจตามมา เพื่อที่จะได้รักษาอาการได้ทันถ่วงที พร้อมกับการวางแผนรักษาในระยะยาวต่อไป หากต้องพา ผู้สูงอายุตรวจสุขภาพ ควรเตรียมตัวอย่างไร?

7. สังเกตพฤติกรรมอารมณ์และร่างกายของผู้สูงอายุ

ลูกหลานหรือคนในครอบครัว ควรที่จะหมั่นสังเกตพฤติกรรมอารมณ์และร่างกายของผู้สูงอายุ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เพื่อเช็กความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายหรืออารมณ์ เพื่อป้องกันเฝ้าระวังและหาวิธีรักษาได้ทันตั้งแต่เนิ่น ๆ 

8. ละเว้นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ

การดูแลผู้สูงอายุในส่วนของการละเว้นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ควรที่จะ งด ละ เลิก ทั้งหมด เพื่อป้องกันความเสื่อมสภาพของร่างกายที่จะตามมา


ข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ

ข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ

สำหรับวิธีการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากคนในครอบครัวและลูกหลานจะดูแลเอาใจใส่แล้ว ยังมีเรื่องของข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ ก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน หากเราสามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้ผู้สูงอายุก่อเกิดความเครียดได้ ก็จะทำให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งทางกายและจิตใจ เป็นข้อควรระวังที่คนในครอบครัวควรปฏิบัติ

1. ระมัดระวังคำพูดที่กระทบจิตใจ

สิ่งข้อควรระวังอย่างแรก นั่นก็คือ คำพูดของลูกหลานที่มีต่อผู้สูงอายุ การที่จะพูดหรืออธิบายควรที่จะใช้คำพูดหรือการกระทำอย่างระมัดระวัง ไม่พูดจาที่กระแทกหรือใส่อารมณ์ เพราะวัยสูงอายุเป็นวัยที่สภาพจิตใจนั้นบอบบาง

2. ให้ความสำคัญ ไม่ละเลย

ลูกหลานต้องหมั่นเข้าไปถามไถ่พูดคุยกับผู้สูงอายุอยู่บ่อยครั้ง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รู้สึกว่าตนเองนั้นเป็นหนึ่งในคนสำคัญของครอบครัว ในบางเรื่องอาจให้อำนาจในการตัดสินใจ รวมไปถึงการเห็นคุณค่าและเคารพนับถือ 

3. การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม

ในส่วนของวิธีดูแลผู้สูงอายุ ในด้านของสิ่งที่ควรต้องระวัง นั่นก็คือ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุบุคคลนั้น ๆ คนในครอบครัวควรที่จะมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาพื้นฐาน ว่าผู้สูงอายุสามารถทานได้หรือไม่ได้ เพราะหากขาดความรู้ความเข้าใจ อาจส่งผลเสียต่อสุขร่างกายของผู้สูงอายุได้

4.การเกิดอุบัติเหตุ

อีกหนึ่งข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ คือ การดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็น การหกล้ม หรือ พลัดตก ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นสิ่งที่ตามมา เนื่องจากการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ที่ไม่มีความแข็งแรงเคลื่อนไหวตัวไม่สะดวก ดังนั้น การจัดบริเวณที่อยู่อาศัย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญควรจะให้มีความเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

สำหรับวิธีดูแลผู้สูงอายุ หากคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ย่อมจะส่งผลดีให้แก่ผู้สูงอายุที่เราเคารพรัก เพื่อผู้สูงอายุจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ร่าเริงแจ่มใส หากทุกคนช่วยกันหันมาดูแล ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีอายุที่ยืนยาว อยู่ในครอบครัวที่แสนอบอุ่นต่อไปได้


อ้างอิง

บิลเบอร์รี่บำรุงสายตา และประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจที่คุณควรรู้

บิลเบอร์รี่บำรุงสายตา เป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในซีกโลกเหนือ และพบมากในประเทศแถบยุโรป ผลมีสีน้ำเงินม่วงนิยมนำมารับประทานอย่างแพร่หลาย อย่างผลบิลเบอร์รี่สุกก็มาทำเป็นแยม ส่วนของใบและก้านก็นำมาอบแห้งเพื่อทำเป็นผงชาสำหรับดื่มเพื่อสุขภาพกัน และสกัดเป็นอาหารเสริมมานานหลายศตวรรษ เชื่อว่าการบริโภคบิลเบอร์รี่จะช่วยเพิ่มการมองเห็นในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาได้ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระและสารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมากมาย


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบิลเบอร์รี่

บิลเบอร์รี่บำรุงสายตา

บิลเบอร์รี่ (Bilberry) เป็นผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ มีลักษณะคล้ายบลูเบอร์รี่แต่ขนาดเล็กกว่าและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าบลูเบอร์รี่ถึง 4 เท่า ในประเทศไทยมักพบในรูปแบบของสารสกัดในอาหารเสริม บิลเบอร์รี่บำรุงสายตา

บิลเบอร์รี่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาอาการเกี่ยวกับตา การนอนหลับ อารมณ์ และปรับปรุงการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น เนื่องจากบิลเบอร์รี่มีสารฟลาโวนอยด์สูง ซึ่งมีสารประกอบหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และมีแคโรทีนที่สำคัญในการรักษาสุขภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ให้ดียิ่งขึ้น ลดการอักเสบของหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุของ โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ อย่างโรคหัวใจ โรคทางประสาทและสมอง ช่วยฟื้นฟูการสร้างคอลลาเจนให้ผิวอ่อนเยาว์ และช่วยบำรุงสายตาให้มองเห็นได้ดีมากขึ้น


คุณสมบัติสำคัญของบิลเบอร์รี่

จากผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศจึงได้ค้นพบสารสำคัญในผลบิลเบอร์รี่ และกล่าวได้ว่า บิลเบอร์รี่บำรุงสายตา ได้ดีมาก เพราะมีสารสำคัญอย่างแอนโทไซยาโนไซด์ ซึ่งจัดอยู่ในสารประเภทฟลาโวนอยด์ มีประโยชน์ในการบำรุงสายตาและบำรุงจอตา ป้องกันโรคทางสายตาและอาการต่าง ๆ ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดีขึ้น ช่วยคลายความเหนื่อยล้าของดวงตา และช่วยในการไหลเวียนเลือดในเส้นเลือดฝอย

นอกจากนี้ยังมีวิตามินซี อี และไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยปกป้อง และถนอมดวงตาไม่ให้โดนทำลาย เพิ่มความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด และยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยลดการเกิดโรค รวมถึงกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกลูตาไธโอนเพิ่มขึ้นด้วย


สรรพคุณ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณของบิลเบอร์รี่นั้นส่งผลกับดวงตาโดยตรง ซึ่งสารที่มีอยู่ในบิลเบอร์รี่ ประกอบด้วย

  1. แอนโธไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ประสาทตา สามารถจับกับผิวที่จอเรติน่าบนดวงตาได้ดี จึงทำให้มองเห็นภาพ และการมองเห็นในที่มืดดีขึ้น
  2. ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน มีส่วนช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื้นเรียบเนียน และช่วยป้องกันโรคได้หลายชนิด
  3. แทนนิน (Tannins) มีฤทธิ์ในการสมานแผล และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด
  4. กลูโคควินิน (Glucoquinine) มีฤทธิ์กระตุ้นให้การทำงานของอินซูลินและควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี เพราะช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลในร่างกายให้เป็นพลังงาน

บิลเบอร์รี่บำรุงสายตา

บิลเบอร์รี่ นับเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณที่สำคัญกับดวงตามากมาย นอกจากจะช่วยในเรื่องการมองเห็นได้ดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ดวงตาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยป้องกันเลนส์ตา ลดโอกาสในการเกิดโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมได้อีกด้วย สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ก็นำทำมาเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ หรืออาหารเสริม เพื่อให้ทานได้ง่ายขึ้น และได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

การศึกษาวิจัยถึงประโยชน์ของ บิลเบอร์รี่ บำรุงสายตา พบว่า การรับประทานบิลเบอร์รี่ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จะช่วยทำให้คลายความเมื่อยล้าของดวงตาเมื่อใช้สายตานาน ๆ เพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือดฝอยและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดฝอยที่ตา ทำให้ดวงตาได้รับสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงได้ดีขึ้น บรรเทาอาการตาแห้ง เนื่องจากผลบิลเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันอาการเสื่อม และลดความเสี่ยงของภาวะต้อกระจก มีสารต้านอนุมูลอิสระชั้นยอดที่จะช่วยป้องกันสารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกาย ช่วยชะลอความแก่ชรา และที่สำคัญคือช่วยป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้

นอกจากนี้ในบิลเบอร์รี่ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่ช่วยดูแลสุขภาพดวงตาและร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน มีไฟเบอร์สูง ซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารแข็งแรง เป็นต้น บิลเบอร์รี่นั้นจึงเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดในการรับประทาน เพื่อบำรุงและแก้ปัญหาของสายตา ที่เหนือว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ เลยก็ว่าได้


ผู้สูงอายุทาน บิลเบอร์รี่ บำรุงสายตา ได้หรือไม่?

ผู้สูงอายุทาน บิลเบอร์รี่ บำรุงสายตา ได้หรือไม่?

สารอาหารในบิลเบอร์รี่นั้นช่วยถนอมสายตาได้เป็นอย่างดี ทำให้ดวงตาแข็งแรงและมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ช่วยในเรื่องการมองเห็น ทำให้สายตาดีขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน เพิ่มสีจอประสาททำให้สายตา สามารถทนต่อแสงได้ดีมากขึ้น ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา สร้างความแข็งแรง ไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย และยังช่วยลดอาการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง บำรุงผิวพรรณได้ด้วย

บิลเบอร์รี่ เป็นราชาแห่งการบำรุงดวงตา เพราะมีสารอาหารที่จำเป็นและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยดูแลและบำรุงสุขภาพของดวงตา ป้องกันภาวะสายตาเสื่อม ลดความเสี่ยงของโรคเกี่ยวกับดวงตาที่จะเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นได้ด้วย จึงเหมาะสำหรับใครที่ต้องทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์ หรือต้องใช้สายตาเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะทำให้ดวงตาเกิดอาการเมื่อยล้าได้ รวมถึง การดูแลผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาก็สามารถรับประทานได้ แต่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์เสียก่อนด้วย


ข้อควรระวังในการรับประทาน

ข้อควรระวังในการรับประทาน

บิลเบอร์รี่ จึงนิยมนำมาสกัดทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือวิตามินที่ใช้ในการบำรุงสายตา มีทั้งในรูปแคปซูลและแบบน้ำ และจะเห็นผลดีที่สุดหากรับประทานร่วมกับวิตามินซี แม้ว่าสารสกัดจากบิลเบอร์รี่จะมีผลในการปกป้องและบำรุงสายตาได้จริง ก็อย่ารับประทานเกินปริมาณที่แนะนำ หรือทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

ในผู้สูงอายุหรือคนที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ห้ามรับประทานบิลเบอร์รี่ โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเด็ดขาด หรือหากคุณกำลังใช้ยาต่อไปนี้ เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยาที่ใช้ป้องกันลิ่มเลือด เพราะยาอื่น ๆ อาจทำปฏิกิริยากับบิลเบอร์รี่ และก่อให้เกิดอันตราย หรือผลข้างเคียงต่อร่างกายได้


ปัจจุบันบิลเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่มักนิยมนำมาเป็นอาหารเสริม และได้รับความสนใจอย่างมากในการนำมาใช้รักษาบำรุงดูแลสุขภาพของดวงตาในผู้สูงอายุ หรือคนที่ต้องการถนอมดวงตาไม่ให้เสื่อมก่อนวัย แก้ปัญหาของสายตาที่เกิดจากการทำงาน ใช้สายตาเป็นเวลานาน การอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ซึ่งการเลือกทานบิลเบอร์รี่นั้นในผู้สูงวัยหรือคนทานยาอื่น ๆ อยู่ก็ต้องมีการปรึกษาทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดอันตราย รวมถึงผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาก็อย่าลืมปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำ หรือหาแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดก่อน


อ้างอิง

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ ดูแลอย่างไรไม่ให้น้ำตาลขึ้น

สำหรับผู้สูงอายุ โรคภัยไข้เจ็บ ถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง หรือ แม้กระทั่งอาการเจ็บป่วยที่เข้ามารบกวนการใช้ชีวิตในวัยสูงอายุอย่างไม่ขาดสาย แน่นอนเลยว่าการรับมือของแต่ละอาการก็แตกต่างกันไป แต่สำหรับโรคที่ค่อนข้างจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเลยนั่นก็คือ “ โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ ” เพราะว่าเมื่ออาการแทรกซ้อน จะค่อนข้างอันตราย

อีกทั้งภาวะ “น้ำตาลขึ้น” จะเป็นเรื่องที่ผู้ดูแลจะต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก เพราะนี่จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแตกต่างมากสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อย สำหรับวันนี้แน่นอนว่าพวกเราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาพูดถึงกันในแบบฉบับที่เข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็น อาการของโรคนี้ในผู้สูงอายุ วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมไปถึงการหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องคอลลาเจน และ วิธีการออกกำลังในแบบผู้สูงอายุด้วย ต้องบอกเลยว่ามีหลายวิธีให้กับผู้ป่วยได้เลือก นี่คืออีกหนึ่งช่องทางที่คุณจะต้องรู้เพื่อหาข้อมูลเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ติดตามพร้อมกันได้ในบทความนี้


อาการโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

ความน่ากลัวของโรคเบาหวานในผู้สูงอายุนั้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องเฝ้าระวังกันเป็นอย่างมาก ด้วยปัจจัยทางด้านการรับประทานอาหารที่สะสมน้ำตาลมาเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผ่านมา ไม่ได้สนใจเรื่องอาหาร สุขภาพ การออกกำลังกาย ทำให้โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่ทุกคนก็เป็นกันได้ง่าย ๆ โดยอาการเริ่มแรกของโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ จะสามารถสังเกตได้ดังต่อไปนี้

1. ระยะแรก ยังไม่เห็นอาการแน่ชัด

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ในระยะแรกนั้นมักจะยังไม่พบอาการ เพราะว่าระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมาก อาการยังไม่เด่นแน่ชัด แต่มักจะมีอาการรับประทานเก่ง ขึ้น หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย ถ้าหากว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นเวลานาน น้ำหนักของตัวเองจะลดลงแบบเฉียบพลัน

2. ระยะมีภาวะแทรกซ้อน

สำหรับอาการของผู้ป่วยเบาหวาน ในผู้สูงอายุ ในแบบที่มีโรคอื่นแทรกซ้อนด้วย จะค่อนข้างอันตราย เพราะว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น ตามัว ชาปลายมือ ปลายเท้า รวมทั้งเกิดโรคต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง  ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ทุกเวลา เพราะเกี่ยวข้องกับหัวใจ และ สมอง 

3. อาการเฉียบพลัน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานในผู้สูงอายุ มักจะพบอาการเฉียบพลัน ตัวอย่างเช่น อาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ หายใจหอบ มีความรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไป  มีอาการซึม หมดสติ โดยทั้งหมดที่กล่าวมา คืออาการของน้ำตาลสูงเฉียบพลันนั่นเอง ซึ่งในผู้สูงอายุมักพบบ่อยในกรณีที่ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินกว่าที่กำหนด 


ผลกระทบของโรคเบาหวาน

สำหรับหัวข้อนี้จะขอพูดถึง เรื่องผลกระทบของโรคเบาหวาน ในผู้สูงอายุ ด้วยตัวของโรคเบาหวานนั้น จะเป็น โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ รวมทั้งพบมากถึงร้อยละ 20 ในจำนวนคนไทย ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งสาเหตุที่ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนที่อายุยังน้อยก็เพราะว่า เมื่ออายุมากขึ้น การเสื่อมของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิต ฮอร์โมนอินสุลิน ที่ใช้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้การที่อายุมากขึ้น ยังอาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินสุลินด้วย 

โดยโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ จะส่งผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลัน กรณีระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยที่คุณไม่รู้ตัว ส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนอีกหนึ่งกรณีก็คือ ผลกระทบเรื้อรัง จะพบได้ในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี เป็นระยะเวลานาน ทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อ หลอดเลือดหัวใจ ไต ดวงตา ซึ่งจะพบได้บ่อยว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงมากในกรณีที่เป็นแผล เพราะหายยาก บางรายถึงขั้นต้องยอมเสียอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต แน่นอนเลยว่าด้วยอาการ และ สาเหตุทั้งหมด ผู้สูงอายุจำเป็นมากที่จะต้องมีวิธีดูแล รวมทั้งแผนการรักษาอย่างถูกต้อง ถูกวิธี 


วิธีดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

การดูแลสุขภาพของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ค่อนข้างเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับผู้สูงอายุ ที่จะต้องเจ็บป่วย เพราะบางคนก็ดื้อไม่ยอมทำการรักษา หรือ ทำตามในขั้นตอนวิธีการรักษาที่ถูกต้อง สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเกิดกับผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่จะต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก ทั้งตัวของผู้ป่วยเอง รวมทั้งผู้ที่ทำการดูแลด้วย ซึ่งจะต้องมีวิธีการดูแล เป็นขั้นตอน และ เรื่องที่ผู้ป่วยต้องพึงระวัง มีดังต่อไปนี้ 

1. วางแผนการรักษา 

ขั้นตอนแรก เมื่อทราบว่าเป็นโรคเบาหวาน หรือ มีภาวะที่จะต้องเกี่ยวข้องกับโรคนี้ จะต้องวางแผนการรักษาเลยว่าคุณเองป่วยอยู่ในระดับไหน ซึ่งเรื่องนี้ทั้งผู้ดูแล ญาติ รวมทั้งผู้ป่วย จะต้องร่วมกันวางแผนการรักษาร่วมกัน ตัวอย่างเช่น การเลือกโรงพยาบาลที่จะทำการรักษา อีกทั้งข้อมูลของโรคเบาหวานที่ทุกคนในครอบครัวจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ทั้งเรื่องของค่าน้ำตาลสะสม ซึ่งจะต้องช่วยกันควบคุมดูแลอย่างเคร่งครัด

2. รับประทานอาหาร

การรับประทานอาหาร เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ยิ่งเกิดในภาวะของผู้สูงอายุ ย่อมที่จะต้องเคร่งครัดในเรื่องเกี่ยวกับอาหารให้มากด้วยเช่นเดียวกัน ควรงดของหวานที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เพราะว่าจะเกิดผลกระทบต่อหัวใจ หลอดเลือด และ สมอง ยิ่งไปกว่านั้นอาหารบางชนิด ยังไปกระตุ้นให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคประจำตัว หรือ โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ด้วยเช่นกัน 

3. ป้องกันไม่ให้ภาวะน้ำตาลต่ำ

สำหรับภาวะน้ำตาลต่ำ ต้องทำความเข้าก่อนว่า ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ ไม่ให้สูงเกินไป หรือ ต่ำเกินไป แต่ในภาวะนี้อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งภาวะน้ำตาลต่ำ เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร 

4. ควบคุมโรคอื่นให้ดี

สำหรับวิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในวัยสูงอายุนั้น จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีแล้ว ต้องควบคุมโรคอื่นที่เป็นให้ดีด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยบางรายเป็นความดันโลหิตสูงด้วย เป็นโรคไขมันสูงด้วย ก็จะต้องควบคุมไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งจุดที่แย่ที่สุดอาจจะทำให้หัวใจวาย หรือ หลอดเลือดในสมองแตกได้นั่นเอง 

ดังนั้น วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ครอบครัว คนรอบข้าง จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ให้ได้ถ่องแท้ เพราะว่าเป็นโรคที่แตกต่างกับผู้ป่วยอายุน้อย ซึ่งการติดตามผล การดูแลอย่างใกล้ชิด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เลี่ยงอาหารรสหวาน เลือกอาหารที่มีกากใย ไขมันต่อ มีการออกกำลังกาย พร้อมทั้ง รับประทานอาหารเสริม อยู่เสมอ ลดความเครียด รวมทั้งสิ่งที่ทำร้ายร่างกายต่าง ๆ โดยเรื่องเหล่านี้ถ้าหากว่าปฏิบัติอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถช่วยลดอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาได้ อีกทั้งคุณภาพชีวิตที่จะดีขึ้นตามมาด้วย ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวาน อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจก็คือ “คอลลาเจน” เป็นสารสกัดที่จะช่วย ลดน้ำตาลในเลือดได้ 


คอลลาเจนช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้จริงหรือไม่

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัย เพราะว่าโฆษณาของทาง อาหารเสริมอย่างคอลลาเจน ได้มีการพูดถึงเรื่อง ลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งแน่นอนเลยว่าเมื่อได้ยินแบบนี้ ผู้ป่วยเบาหวานก็พอที่จะมีช่องทางในการควบคุมระดับน้ำตาลในแบบฉบับของตัวเอง แน่นอนเลยว่ายังได้รับการเสริมสร้างคอลลาเจนภายในร่างกายด้วย สำหรับหัวข้อต่อไปนี้จะขอพูดถึงเรื่องราวของ “คอลลาเจน” กับ “ผู้ป่วยเบาหวาน” ที่สามารถช่วยได้ แล้วยังมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิดด้วย


คอลลาเจน ทานเสริมได้ ช่วยได้เยอะ

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เรื่องรับประทานอาหารจะค่อนข้างที่ต้องเคร่งครัดเป็นอย่างมาซึ่งอาจจะทำให้เป็นกังวลเกี่ยวกับ การขาดสารอาหาร หรือ ได้รับวิตามินไม่เพียงพอต่อวัน อย่างไรก็ตามเราต้องขอพูดถึงก่อนเลยว่า คอลลาเจน กับ โรคเบาหวานนั้น เกี่ยวข้องกันได้ เพราะผู้ป่วยเบาหวาน จะมีจำนวนคอลลาเจนที่ลดลง เพราะว่าผิวหนังจะมีรอยช้ำได้ง่าย อีกทั้งเมื่อเป็นแผล ก็จะหายช้า นี่ก็คือเหตุผลที่ผู้ป่วยเบาหวาน จะย่อยสลายคอลลาเจนที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีอยู่ภายในร่างกายได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะเบาหวานในวัยเดียวกัน 

อีกหนึ่งอาการที่ผู้ป่วยเบาหวานจะแสดงออกมาทางผิวหนัง นั่นก็คือ ผิวหนังของผู้ป่วยเบาหวาน จะแตกง่าย เกิดการลอกเป็นขุย แห้ง กลายเป็นแผลได้ง่าย หรือมี อาการท้องผูก โดยจะนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดีด้วย ดังนั้น นี่แหละจึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นมากที่จะต้องเสริมคอลลาเจนเข้าสู่ร่างกายอย่างเร่งด่วน


ผู้ป่วยเบาหวาน เลือกทานคอลลาเจนอย่างไร ? 

ความปลอดภัยของการรับประทานคอลลาเจน ถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน มั่นใจว่า คอลลาเจนสามารถรับประทานได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย แต่สิ่งที่จะต้องระวังในตัวของอาหารเสริมอย่างคอลลาเจนนั้น ต้องระวังระดับน้ำตาลที่อาจจะมีมากเกินไป จนทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ มากกว่าการช่วยเสริมคอลลาเจนเข้าสู่ร่างกาย 

สำหรับอาหารเสริมประเภทอื่น มักจะมีส่วนผสมของสารสกัดอื่น ๆ ผสมอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น วิตามินซี สารสกัดจากผลไม้ พร้อมทั้งปรุงแต่งน้ำตาล เพื่อเพิ่มรสชาติที่อร่อย ทานง่าย ซึ่งถ้าหากว่าผู้ป่วยไม่ได้ระวังเรื่องนี้ก็ค่อนข้างที่จะเป็นอันตรายทั้งระยะสั้น และระยะยาวได้เช่นเดียวกัน 


คอลลาเจน มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน

สำหรับคอลลาเจน จะทำหน้าที่เป็นเหมือนกาว ที่จะเข้าไปซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอไป อีกทั้งส่วนของข้อต่อ กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ทำงานได้อย่างเป็นปกติ เมื่อผู้ป่วยเบาหวาน รับประทานคอลลาเจนเข้าไปแล้วนั้น ก็จะช่วยซ่อมแซมผิวหนัง แผลเป็น พร้อมทั้งรอยเหี่ยวแห้งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยคอลลาเจน จัดเป็นโปรตีนที่สำคัญชนิดหนึ่งต่อร่างกาย ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวานแล้ว คอลลาเจน ก็ถือได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย 

เหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา ทุกอย่างของคอลลาเจน จะเกี่ยวกับการทำงานของร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ซ่อมแซม เสริมสร้าง หรือ ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นจึงเป็นอาหารเสริมอีกหนึ่งประเภท ที่ผู้ป่วยเบาหวานทานได้ ปลอดภัย แต่ก็มีข้อควรระวังเล็กน้อยที่ผู้ป่วยเองจะต้องเฝ้าระวัง เพราะบางแบรนด์ก็จะมีส่วนผสมของน้ำตาลด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยทุกคน ก็จะต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายนั้นทำงานได้เป็นปกติ พร้อมกับสุขภาพดีอย่างยั่งยืน


วิธีออกกำลังกายในผู้สูงอายุแบบง่ายๆ

อีกหนึ่งกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ที่ไม่จำเป็นเลยว่าจะต้องป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ นั่นก็คือ “การออกกำลังกาย” ซึ่งการออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถปฏิบัติได้ทุกเพศ ทุกช่วงอายุ ส่วนความหนักเบา ก็จะขึ้นอยู่กับช่วงวัยของแต่ละคนนั่นเอง

สำหรับวัยรุ่นก็อาจจะมีกิจกรรมการออกกำลังกายที่มีขั้นตอน ความหนัก ความเบาได้ทุกรูปแบบ เพราะร่างกายยังคงแข็งแรง แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้ว จะให้ไปเล่นกีฬา หรือ ออกกำลังกายแบบหนัก ๆ ก็คงไม่ไหว วันนี้พวกเราจึงได้รวบรวม 7 ท่า การออกกำลังกายแสนง่าย สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถทำง่าย เป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ที่ขอแนะนำเลยว่า จะได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายเป็นอย่างมาก โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


7 ท่า การออกกำลังกายแสนง่าย สำหรับผู้สูงอายุ

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

1. วาดมือขึ้น เท้าแตะข้าง

เริ่มต้นกันด้วยท่าที่ได้ประโยชน์เยอะ ทำง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุ ยิ่งไปกว่านั้นใครที่เข่าไม่ดี น้ำหนักตัวเยอะ ก็สามารถที่จะออกกำลังกายท่านี้ผู้สูงอายุ สามารถทำได้ไม่ยาก โดยแขนทั้ง  2 ข้าง ขึ้นด้านบน แล้วแตะกันที่ระหว่างศีรษะ พร้อมกับยกขาออกไปแตะด้านข้าง ทำสลับกันซ้าย กับ ขวา ท่านี้จะช่วยบริหารแขน พร้อมกับ ขา สำหรับท่านี้จะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า เพราะได้ขยับตัวในจังหวะที่เร็วขึ้นนั่นเอง 

วิธีการทำท่านี้

อันดับแรกจะต้องยืนให้ตรง กางขาออกเล็กน้อย จากนั้นก็ออกแรงยกมือขึ้นเหนือศีรษะ ในช่วงระหว่างยกมือขึ้นให้เตะขาซ้ายออกไปด้านข้าง ในส่วนของปลายเท้าแตะพื้น พร้อมกับลดมือลง พร้อมกับดึงขากลับมาสู่ท่าเริ่มต้น จากนั้นก็สลับข้างกันไปตามต้องการ 


2. ท่าย่ำเท้าอยู่กับที่ 

สำหรับท่านี้ สามารถทำได้ง่าย ๆ สำหรับผู้สูงอายุ เป็นการทำท่าเต้นออกกำลังกายเบา ๆ ในทุกวัน ซึ่งใช้เป็นท่าเริ่มต้น หรือ ท่าคูลดาวน์ อบอุ่นร่างกายให้พร้อมสำหรับการเต้นออกกำลังกายในท่าต่อไปก็ทำได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ท่านี้ยังช่วยให้กล้ามเนื้อขาได้ออกแรง ดีต่อข้อเข่าของผู้สูงอายุ เพราะว่าไม่มีแรงกระแทกที่ลงไปทางข้อเข่า

วิธีการทำท่านี้

สำหรับท่านี้ทำง่ายมาก เพียงยืนตรง ยกมือแล้วเท้าเอวไว้ ต่อมาย่ำเท้าสลับซ้าย-ขวา ต่อเนื่องกันไปประมาณ 1-2 นาที 


3. หุบศอก กางศอก

ท่าที่ 3 ขอแนะนำการออกกำลังกายเบา ๆ ที่จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อในส่วนบน ที่ง่ายมาก เป็นท่ากางศอก หุบ ศอก ที่เหมาะกับการออกกำลังกายทุกวัน ช่วยในส่วนของไหล่ แขน กล้ามเนื้อยืดหยุ่นขึ้น จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ทุกวัน ทุกช่วงกิจกรรมของการออกกำลังกาย 

วิธีการทำท่านี้

เริ่มต้นด้วยการยืนตรง จากนั้นให้ยกแขนตั้งฉากกับลำตัว ตั้งข้อศอกงอ จากนั้นก็หุบศอกเข้าหากัน รวมทั้งกางออก ค่อย ๆ ทำอย่างช้า ๆ ตามเพลง หรือ ตามที่ต้อการ


4. ท่าโบกแท็กซี่ 

สำหรับท่านี้เป็นท่าที่เพิ่มความกระฉับกระเฉง ให้กับผู้สูงอายุ เป็นท่าที่น่าสนใจมาก เพราะช่วยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย มีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้นด้วย นับได้ว่าเป็นข้อดี เพราะช่วยให้ผู้สูงอายุไม่เครียดไปกับการทำกิจกรรมออกกำลังกายด้วย 

วิธีการทำท่านี้

เริ่มต้นด้วยการยกมือขึ้นเหนือศีรษะ จากนั้นก็โบกไปมาตามจังหวะของเพลง ซึ่งสามารถโบกตามความสนุกสนาน หรือ ตามที่ต้องการของผู้ออกกำลังกายได้เลย


5. เท้าเอว หมุนไหล่

ต่อมาขอแนะนำท่านี้ ถือได้ว่าเป็นท่าหมุนเอวไหล่ ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ ได้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะว่าได้ออกกำลังกายส่วนของต้นแขน ไหล่ ซึ่งจะช่วยให้ข้อต่อของผู้สูงอายุ ยืดหยุ่น ลดความตึงเครียด รวมทั้งความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีด้วย 

วิธีการทำท่านี้

ให้เริ่มต้นด้วยท่ายืนตรง แล้วแยกขาออก ใช้มือทั้งสองข้าง พร้อมกับ หมุนไหล่ไปทางด้านหน้าเบา ๆ จากนั้นก็หมุนกลับไปด้านหลัง ท่านี้จะช่วยบริหารส่วนหัวไหล่ คลายปวดเมื่อย เหมาะมากสำหรับผู้สูงอายุ 


6. ท่าแกว่งแขน 

ท่าพื้นฐานที่ทุกคนรู้จักดี ท่าแกว่งแขวน เป็นท่าที่ผู้สูงอายุทำง่าย เป็นท่าสำหรับการออกกำลังกายเบา ๆ เป็นการเปิดจุดให้เลือดลมไหลเวียนดี เคล็ดลับของท่านี้คือจะต้องทำเบา ๆ ในช่วงเริ่มต้น แล้วค่อยเพิ่มไปแรงได้ เป็นท่าสบาย ๆ กับ กิจกรรมวันเบา ๆ 


7. บริหารลำตัว

สำหรับท่านี้ จะช่วยให้ร่างกายมีการบริหารแขน หลัง ไหล่ รวมทั้งช่วงลำตัวด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความพร้อมสำหรับการทำกิจกรรมมากขึ้น ช่วยให้เดินเหินสะดวก รู้สึกสดชื่น

วิธีการทำท่านี้

ให้เริ่มต้นด้วยการยืนตรง ยกมือเท้าเอว จากนั้นก็บิดลำตัวไปทางซ้ายช้า ๆ ก่อนที่จะบิดกลับมาทางขวา ทำแบบนี้สลับกันไป เซ็ตละ 15 ครั้ง 


สำหรับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จำเป็นมากที่ต้องใช้ท่าที่ทำง่าย สะดวก ไม่หนักจนเกินไป เพราะว่าผู้สูงอายุ ไม่ได้กล้ามเนื้อที่แข็งแรงเหมือนวัยรุ่น หรือวัยเด็ก ดังนั้น การเลือกท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

จุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพ คือ การหันมาใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น จะต้องมีการตรวจสอบตนเองเกี่ยวกับอาการเจ็บปวด ใส่ใจในการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งเช่นเดียวกัน โรคเบาหวาน ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรัง ที่ทั้งผู้หญิง หรือ ผู้ชาย ทุกช่วงวัย สามารถเป็นได้ แต่ที่ค่อนข้างอันตรายก็คือในวัยผู้สูงอายุ เพราะโรคแทรกซ้อนเพียงช่วงเวลาเดียวก็สามารถทำให้ มีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้นแล้ว การสังเกตอาการของโรค การทำความเข้าใจกับโรคเบาหวานกับผู้สูงอายุ การมองหาทางเลือกเสริมอย่างคอลลาเจน ที่ช่วยให้อาการเบาหวาน หรือ ลดน้ำตาลในเลือดได้ อีกทั้งการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ มีร่างกายที่แข็งแรง ลดความเครียด ลดซึมเศร้า เชื่อเลยว่าข้อมูลทั้งหมดในบทความนี้จะเป็นเรื่องราวสาระดี ๆ ให้กับคนที่กำลังหาทางออกเกี่ยวกับ โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ นั่นเอง


อ้างอิง

น้ำมันปลาผู้สูงอายุ กินอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์

เมื่ออายุมากขึ้น การถดถอยของร่างกายก็ตามมา ตามวัย ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ก็เริ่มที่จะถามหาตามมา ไม่ว่าจะเป็น อาการเจ็บป่วยทั่วไป ปวดเมื่อตามร่างกาย หรือ โรคเรื้อรังที่เริ่มจะมีสัญญาณบอกแล้วว่าร่างกายเริ่มที่จะแย่ลงเรื่อย ๆ แต่ในปัจจุบันยังมีวิธีที่ช่วยชะลอความแก่อย่างสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย โดยที่เห็นชัดง่าย ๆ ก็คือ คอลลาเจน หรือ ดีท็อกซ์ล้างสารพิษ รวมไปถึงอาหารเสริมต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการดูแลร่างกายไปอีกหนึ่งทาง แต่ทว่าวันนี้พวกเราจะขอพูดถึงอีกหนึ่งอาหารเสริมอย่าง “น้ำมันปลา” ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายบรรเทาอาการอักเสบ รวมทั้ง ช่วยให้ร่างกายดีขึ้น โดยสามารถตอบโจทย์ได้ทุกเพศ ทุกวัย เพราะประโยชน์ของน้ำมันปลานั้นมีมากกว่าที่คิด วันนี้พวกเราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ น้ำมันปลาผู้สูงอายุ ให้มากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งประโยชน์ที่แท้จริง อีกทั้งคำตอบสำหรับผู้สูงอายุว่าจะกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันได้ในบทความนี้ 


น้ำมันปลาคืออะไร

น้ำมันปลาผู้สูงอายุ

ถ้าจะพูดถึงเรื่องราวของน้ำมันปลา ก็คงพูดถึงจุดเด่นได้ว่า มีสรรพคุณมากมาย ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ รวมทั้งช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งนี่เป็นจุดเด่น แต่ที่จริงแล้วยังมีประโยชน์อีกมากมายโดยที่คุณเองอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ

ก่อนอื่นเลยต้องขอพาทุกท่านไปรู้จัก น้ำมันปลา กันก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเจ้าสารสกัดชนิดนี้นั้น จะเป็นน้ำมันที่ได้จากกระบวนการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่าง ๆ ของปลา ตัวอย่างเช่น เนื้อปลา หัวปลา หางปลา รวมทั้ง หนังของปลา ซึ่งปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้นจะเป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น โดยจะมีกรดไขมัน Omega-3  มากกว่าปลาน้ำจืด ตัวอย่างเช่น ปลาแองโชวี่ กับ ปลาแมคเคอเรล รวมไปถึงปลาทูน่า ที่อยู่ในกลุ่มที่มี โอเมก้า 3 สูงถึง 1-4 กรัม ต่อเนื้อปลา 100 กรัม 

สำหรับ “โอเมก้า 3” นั้นจะประกอบไปด้วยกรดไขมันสำคัญ นั่นก็คือ EPA กับ DHA โดยจากการวิจัยทางการแพทย์นั้น จะพบว่า น้ำมันปลาจะมีประโยชน์หลายด้านต่อร่างกาย


Omega-3 ดีต่อร่างกายอย่างไร 

โอเมก้า 3 นั้น จะมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของสมอง รวมไปถึงการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ เรตินาการมองเห็น รวมทั้งตับ กับ การทำงานในส่วนอื่นของร่างกาย โดยเฉพาะโภชนาการกับสุขภาพของคน ตัวอย่างเช่น ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล กับ ไตรเอธิลกลีเซอรอล ในพลาสมา ควบคุมระดับไลโปโปรตีน

โดยจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ กับ หน้าที่ของเกล็ดเลือด จึงเป็นแนวโน้มที่ก่อให้เกิดผลดีในการลดอันตรายของโรคทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจ รวมไปถึงโรคซึมเศร้าด้วย โดยกรดไขมันชนิดนี้มีประโยชน์มากซ่อนอยู่ในน้ำมันปลานั่นเอง


ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันปลา

น้ำมันปลาผู้สูงอายุ

น้ำมันปลา จะมีกรดไขมันอย่าง โอเมก้า 3 ซึ่งแน่นอนว่ามีประโยชน์ที่หลากหลาย ดังนั้นแล้วจะสรุปประโยชน์ของน้ำมันปลาที่มีต่อการบำรุงร่างกายได้ ดังต่อไปนี้ 

  • บำรุงสายตา 
  • บำรุงผิวหนัง
  • บำรุงกระดูก 
  • ลดการสะสมไขมันในตับ
  • บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า
  • บรรเทาอาการของโรคสมาธิสั้นในเด็ก
  • ช่วยเสริมสร้างสุขภาพครรภ์ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ 
  • น้ำมันปลาให้วิตามิน เอ และ วิตามินดี ซึ่งมาจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ กับ ผักต่าง ๆ ที่ขาดแคลนไปจากการไม่ได้ทานผัก หรือ เนื้อสัตว์ 

ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย ทำให้น้ำมันปลา มีสรรคุณในการรักษา พร้อมกับ บรรเทาโรคภัยไข้เจ็บได้มากมาย


สรรพคุณของน้ำมันปลา 

สรรพคุณของน้ำมันปลานั้น มีหลากหลายด้านด้วยกัน โดยจะช่วยบรรเท่าโรคร้ายแรง ไปจนถึงโรคเรื้อรัง ซึ่งมีรายการสรรพคุณที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  • บรรเทาอาหารไขข้ออักเสบ หรือรูมาตอยด์ จะช่วยลดอาการปวดข้อเข่า ข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม หรือในผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาการปวดข้อ น้ำมันปลาก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ 
  • ประโยชน์ต่อระบบหลอดเลือด จะช่วยป้องกันอาการโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว 
  • ประโยชน์ต่อระบบความดันโลหิต จะช่วยลดในเรื่องของความดันโลหิตสูง
  • ประโยชน์ต่อระบบหัวใจ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
  • ช่วยลดระดับ คอเลสเตอรอลในเลือด 
  • ประโยชน์ต่อระบบประสาท และสมอง จะช่วยเพิ่มความจำไม่ให้ขี้ลืม ซึ่งในส่วนนี้เห็นผลว่าช่วยบำรุงสมองได้ดีขึ้น 

ประโยชน์ของน้ำมันปลา นั้นสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ รวมไปถึงวัยผู้สูงอายุ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำมันปลา เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้เช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการรับประทานด้วย


ผู้สูงอายุกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์

น้ำมันปลาผู้สูงอายุ

สำหรับผู้สูงอายุ หรือ ผู้สูงวัยนั้น จะถูกพบว่า มีปัญหากับ ความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากว่ามีหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะดังกล่าว ตัวอย่างเช่น การเบื่ออาหาร หรือ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการไม่อยากเคี้ยวอาหารเพราะฟันไม่แข็งแรง หรือ ลิ้นที่รับรสชาติไม่ได้ดีเหมือนเคย จึงรู้สึกว่าทานอะไรก็ไม่มีความอร่อย รวมไปถึงฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ความอยากทานอาหารลดลง

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ถ้าหากว่าละเลยการดูแลในส่วนนี้ ก็ส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ อีกทั้งเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ และโรคประจำตัวอาจจะกำเริบขึ้นมาได้ทุกเวลาด้วย 


น้ำมันปลาผู้สูงอายุ กินแล้วมีประโยชน์

สำหรับ “น้ำมันปลา” ถือได้ว่าเป็นสารอาหารที่สำคัญจากธรรมชาติ เป็นแหล่งอาหารที่เต็มไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยในการทำงานของสมอง การรับรู้ รวมทั้งความจำด้วย อีกทั้งยังสามารถรับประทานได้ทุกวัย ดังนั้นในวัยผู้สูงอายุ จะมีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัส รวมทั้งอาการอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งผลการวิจัยนั้นพบว่า น้ำมันปลา จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี แน่นอนเลยว่านี่จึงเป็นสารอาหารที่ผู้สูงวัยควรจะได้รับ เพราะทานง่าย อีกทั้งมีสารอาหารที่ครบถ้วน

ด้วยคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของน้ำมันปลา ทำให้วงการแพทย์นั้นรับรองให้เลยว่า น้ำมันปลาเป็นสารต้านการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการปวด บวม ตึงแน่นของข้อได้ดี อีกทั้งในยุคที่เต็มไปด้วยโรคระบาด กับเชื้อไวรัสที่อยู่รอบตัวแบบนี้ ภูมิคุ้มกันจะต้องแข็งแรง อีกทั้งการวิจัยที่ระบุเอาไว้ว่า สารอาหารที่สำคัญในน้ำมันปลานั้น จะช่วยลดความเสี่ยงโรคปอดอักเสบติดเชื้อได้ด้วย เนื่องจากมีส่วนช่วยกระตุ้นเม็ดเลือดขาว ให้กำจัดเนื้อเยื่อปอดที่อักเสบติดเชื้อ ทำให้การทำงานของปอดนั้นดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุแข็งแรงมากขึ้นด้วย


ผู้สูงวัย กับน้ำมันปลาที่ควรทาน

สำหรับการทานต่อวันนั้น ถ้าปกติจะแนะนำให้ทาน 500 มก. ต่อ วัน ส่วนผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมอง จะต้องทานปริมาณกรดไขมันที่แนะนำ 1,000-2,000 มก. ต่อ วัน ส่วนผู้ที่มีปัญหาเรื่อง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูงนั้นจะขอแนะนำที่  2,000 – 4,000 มก./วัน


ข้อควรระวัง

สำหรับการทานน้ำมันปลานั้น จะมีข้อที่ควรระวัง เพราะจะทำให้เลือดหยุดไหลช้าลง ดังนั้นถ้าหากว่าถอนฟันมา หรือ ผ่าตัดจะมีเลือดออกมาก ก็ควรที่จะแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนล่วงหน้าว่า เราได้รับประทานน้ำมันปลา โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะสั่งให้หยุดทานก่อนรับการทำฟัน หรือ ผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ เช่นเดียวกันกับผู้ที่รับยาประจำตัวก็จะต้องแจ้งด้วยว่าทานน้ำมันปลา เพราะมียาบางตัวอาจจะได้รับผลกระทบกับร่างกาย 

อีกทั้งผู้ที่แพ้ปลาทะเล หรือ สารที่ใช้ในการผลิต โดยจะต้องสังเกตจากน้ำมันปลาแต่ละแบรนด์ ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่อย่าง แอสไพริน ก็ควรห้ามทาน สำหรับน้ำมันปลาก็มีเรื่องที่ต้องใส่ใจเช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วจะต้องศึกษาข้อมูลให้ครบถี่ถ้วนก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะเกิดผลข้างเคียงที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ ถ้าหากว่ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคประจำตัว ว่าจะสามารถทานน้ำมันปลาได้หรือไม่ ควรที่จะปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร ก่อนที่จะรับประทานด้วย


น้ำมันปลา ป็นสารสกัดมากประโยชน์ ที่ช่วยตั้งแต่ระบบสมอง สายตา รวมทั้งความจำ ถือได้ว่าเป็นอาหารเสริมประเภทหนึ่งที่มีกรดไขมันดีอย่าง โอเมก้า 3 ซึ่งเหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย รวมไปถึงผู้สูงอายุที่อาจจะเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ในปัจจัยต่าง ๆ ก็สามารถทานน้ำมันปลา เพื่อไม่ให้เกิดภาวะนั้นได้

อีกทั้งความโดดเด่นของสารสกัดชนิดนี้ยังช่วยลดการอักเสบภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะมากสำหรับผู้สูงวัยที่มีอาการอักเสบจากอาการปวดข้อ หรือ โรครูมาตอยด์ สำหรับ น้ำมันตับปลานั้นจะมีราคาที่ไม่แพงมากนัก จะขึ้นอยู่กับว่าซื้อยี่ห้อไหน ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ดังอย่าง Blackmores, Nutrilite , Vistra เป็นต้น  มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 100 บาท ไปจนถึง หลักพันบาท ดังนั้น สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ อย่าลืมดูแลคนที่คุณรักกันด้วย


อ้างอิง

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหนก็ตาม ‘น้ำ’ ก็ยังถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของร่างกาย โดยเฉพาะยิ่งอายุมาก ยิ่งต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น นอกจากการรับประทานอาหารที่ประโยชน์แล้ว การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุก็สำคัญไม่แพ้กัน มาดูกันว่าผู้สูงอายุในปัจจุบันควรดื่มน้ำในปริมาณเท่าไหร่ หรือควรดื่มน้ำเพื่อสุขภาพอะไรบ้าง ?


การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำวันละกี่แก้ว

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ

ในน้ำหนักตัวของคนเราประกอบไปด้วยน้ำกว่า 70% นั่นแสดงให้เห็นว่ามนุษย์เราสามารถอดอาหารได้หลายสัปดาห์ แต่หากอยู่โดยขาดน้ำ เพียงแค่ 5-10 วันก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพราะในแต่ละวันร่างกายจะสูญเสียน้ำจากเหงื่อ ปัสสาวะ การหายใจ ฯลฯ จึงต้องมีการทดแทนน้ำในส่วนที่หายไป ซึ่งปริมาณน้ำที่เหมาะสำหรับคนแต่ช่วงวัย คือ

  • 4-8 ปี ควรดื่มน้ำปริมาณ 1,200 มล. (5 แก้ว/วัน)
  • 9-13 ปี ควรดื่มน้ำประมาณ 1,600-1,900 มล. (7-8 แก้ว/วัน)
  • 14-18 ควรดื่มน้ำปริมาณประมาณ 1,900-2,600 มล. (8-11 แก้ว/วัน)
  • ผู้หญิงที่อายุ 19 ปีขึ้นไป ควรดื่มน้ำปริมาณประมาณ 2,100 มล. (9 แก้ว/วัน)
  • ผู้ชายที่อายุ 19 ปีขึ้นไป ควรดื่มน้ำปริมาณประมาณ  3,000 มล. (13 แก้ว/วัน)

นอกจากนี้ หากอยู่ในสภาพอากาศร้อนหรือมีปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ควรเพิ่มปริมาณการดื่มน้ำให้มากกว่าเดิม เมื่อร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอก็จะสามารถรักษาสมดุลน้ำในร่างกายได้ ทำให้สุขภาพต่าง ๆ ในร่างกายมีความสมบูรณ์ ระบบย่อยอาหาร ขับถ่าย และระบบต่าง ๆ ในร่างกายจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการดื่มน้ำเพื่อสุขภาพยังช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายได้อีกด้วย แล้ว ผู้สูงอายุออกกำลังกายแบบไหน ถึงจะดีต่อสุขภาพ


การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ ดื่มน้ำตอนไหนดีที่สุด

การดื่มน้ำเพื่อให้ได้ปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ร่างกายลดการเกิดภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งนอกจากปริมาณแล้ว ช่วงเวลาในการดื่มก็สำคัญเช่นกัน หากดื่มน้ำตามช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะช่วยให้เพิ่มระบบการทำงานในร่างกายให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการดื่มน้ำ คือ 

  • หลังตื่นนอน ควรดื่มน้ำ 1 แก้ว เพราะจะช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกายและยังเป็นการกระตุ้นระบบการทำงานในร่างกายตอนช่วงเช้าอีกด้วย
  • การดื่มน้ำหลังจากอาบน้ำ ในตอนเช้า 1 แก้ว ก็จะช่วยเรื่องความดันโลหิตได้เช่นกัน
  • ดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร 30 นาที 1 แก้ว จะช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น
  • ดื่มน้ำหลังรับประทานอาหารเสร็จ 1 ชั่วโมง 1 แก้ว ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
  • ดื่มน้ำก่อนนอน 1 แก้ว เพื่อช่วยทดแทนการสูญเสียของเหลวในขณะที่นอน

ภาวะขาดน้ำที่อาจเกิดในผู้สูงอายุ

ภาวะขาดน้ำที่อาจเกิดในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยชอบดื่มน้ำ เนื่องจากมีการตอบสนองต่อความกระหายน้ำน้อยลงแต่ร่างกายก็ยังคงสูญเสียน้ำอยู่เหมือนเดิมหากไม่มีน้ำมาทดแทนในส่วนที่สูญเสียไปอาจส่งผลให้เกิด ‘ภาวะขาดน้ำ’ ทำให้ผู้สูงอายุอาจมีอาการหัวใจเต้นเร็วหรือชีพจรเร็วกว่า 120 ครั้ง/นาที แต่หากขาดน้ำในช่วงแรกปริมาณปัสสาวะ อาจมีปกติดี เพราะไตไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ในภาวะขาดน้ำ ทำให้ปริมาณปัสสาวะในระยะแรกของภาวะขาดน้ำไม่ลดลง แม้หากขาดน้ำไปนาน ๆ จนสู่ระยะสุดท้ายอาจทำให้หัวใจล้มเหลวและไตวายได้

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเหล่านี้อาจต้องได้รับยาขับปัสสาวะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้มากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้สูงวัยไม่ค่อยอยากดื่มน้ำอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในช่องปาก ปัญหาสายตา มือสั่น ไม่สามารถจับน้ำดื่มได้ ดังนั้นแล้วจึงต้องจัดหาน้ำดื่มที่สามารถหยิบจับได้อย่างสะดวกไว้ใกล้ผู้สูงอายุ และให้ดื่มทุกชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ หากผู้สูงวัยเริ่มขาดน้ำอาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • ผิวเหี่ยวย่นง่าย และดูไม่สดใส
  • เกิดปัญหาสุขภาพเสื่อมโทรม ทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
  • ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ดี
  • ตาและผิวแห้ง
  • มีอาการท้องผูก ท้องอืด เนื่องจากระบบทางเดินอาหารทำงานได้ไม่ดี
  • แก่เร็วขึ้น เกิดอาการสมองเสื่อม
  • ปวดตามข้อ หลัง หรือเอวได้ง่าย

เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพในช่วงสูงวัย เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจจะต้องดูเรื่องส่วนผสมที่ควรหลีกเลี่ยงให้เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน ซึ่งเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุมี ดังนี้

1. น้ำเปล่าสะอาด

น้ำเปล่าสะอาด

น้ำเปล่าธรรมดา ๆ นี่แหละที่เป็นส่วนสำคัญและเป็นการดื่มน้ำเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย แม้มันจะไม่ได้มีสารที่ให้พลังงานใด ๆ แต่มันก็สามารถช่วยบำรุงด้านสุขภาพต่าง ๆ ได้อย่างดี เช่น ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้นมากขึ้น ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนของสารอาหารในร่างกายทำงานได้อย่างลื่นไหล ช่วยให้ไตขับสารพิษออกจากร่างกายได้มากขึ้น

2. น้ำผลไม้สด

น้ำผลไม้สด

ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำผักหรือผลไม้ที่คั้นสดเอง เนื่องจากน้ำผลไม้กล่องส่วนใหญ่มักจะมีน้ำตาลสูง ซึ่งน้ำผลไม้จะมีใยอาหารที่ช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้อย่างดี แต่อาจจะต้องระวังเรื่องผลไม้โดยเลือกชนิดที่มีรสหวานน้อย เช่น ส้ม ฝรั่ง แตงโม และต้องคำนึงถึงโรคประจำตัวที่บางคนอาจมีด้วย เพราะโรคบางชนิดก็ไม่สามารถรับประทานผลไม้บางอย่างได้ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดหวานเสี่ยงเกิดโรค

3. น้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง

น้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง

นมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ในปัจจุบันนี้หาซื้อได้ง่ายและมีเครื่องเคียงหลายอย่างที่มีประโยชน์ที่สามารถรับประทานร่วมกันได้ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือไม่ควรใส่น้ำตาลเพิ่มอีกเพราะไขมันอาจสะสมเพิ่มได้ และน้ำเต้าหู้ทั่วไปมักมีรสชาติหวานอยู่ในตัวของมันอยู่แล้วหากใครสามารถทำดื่มเองได้หรือซื้อดื่มแบบร้อน ๆ ก็จะดีกว่าการซื้อดื่มเป็นกล่องที่มีการใส่น้ำตาลค่อนข้างเยอะ

4. นมพร่องมันเนย

นมพร่องมันเนย

ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งต้องการโปรตีนเพื่อบำรุงและฟัน การเลือกดื่มนมพร่องมันเนยต้องเป็นตัวเลือกที่ดีเนื่องจากมันมีไขมันน้อยกว่านมชนิดอื่น ๆ และไม่มีการปรุงแต่งรสชาติ เพราะผู้สูงอายุควรระวังเรื่องน้ำตาลเป็นอย่างดี หากร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

5. น้ำสมุนไพร

น้ำสมุนไพร

ผู้สูงวัยส่วนมากมักจะชอบดื่มน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น น้ำขิง น้ำใบบัวบก น้ำมะตูม น้ำกระเจี๊ยบ น้ำอัญชัน ฯลฯ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มักจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายหลายด้านอีกด้วย ทั้งช่วยเติมความสดชื่น บรรเทาอาการกระหายน้ำ และช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ที่สำคัญต้องอย่าลืมเลือกดื่มแบบไม่ใส่น้ำตาลด้วย

6. เครื่องดื่มธัญพืช

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ เครื่องดื่มธัญพืช

สำหรับผู้สูงวัยที่มีปัญหาท้องผูก การดื่มเครื่องดื่มประเภทธัญพืชสามารถช่วยในด้านนี้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากธัญพืชมีใยอาหารที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย ช่วยกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ และอุ้มน้ำในอุจจาระทำให้อุจจาระไม่แข็งตัว


สำหรับผู้สูงวัยที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถดื่มได้ แต่ต้องย้ำว่าได้แค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะหากดื่มมากเกินไปอาจทำลายตับทำให้เป็นโรคตับแข็งได้ หากดื่มเพียงแค่เล็กน้อยก่อนอาหารมันจะสามารถช่วยให้เจริญอาหารได้

การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุควรใส่ใจมากเป็นพิเศษ และต้องคำนึงถึงคุณประโยชน์ของเครื่องดื่มชนิดนั้น ๆ ไม่ควรดื่มตามใจชอบเพียงอย่างเดียว เพราะหากดื่มแต่เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงก็จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้  หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วอาจต้องปรึกษาแพทย์เมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพว่าสามารถดื่มเครื่องดื่มชนิดนั้นได้หรือไม่


อ้างอิง 

การบำรุงรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ นอกจากการออกกำลังกายที่เหมาะสมแล้ว การรับประทาน อาหาร ผู้สูงอายุ ที่มีความสมดุลและเหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง เพื่อให้ได้สารอาหารที่เพียงพอ และครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย


ความสำคัญของอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

ความสำคัญของอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีความต้องการปริมาณอาหารลดลงจากวัยหนุ่มสาว แต่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และสร้างความต้านทานโรค ผู้สูงอายุนั้นต้องการพลังงานน้อยลง เพราะการทำงานของร่างกายมีน้อยลง โดยพลังงานที่ผู้สูงอายุได้รับจากอาหารควรได้รับไม่ควรน้อยกว่า 1200 กิโลแคลอรี/วัน โดยมีรายละเอียดคือ

  • ชาย อายุ 60 – 69 ปี ต้องการพลังงานเฉลี่ยประมาณ 2200 กิโลแคลอรี/วัน
  • หญิง อายุ 60 – 69 ปี ต้องการพลังงานเฉลี่ยประมาณ 1850 กิโลแคลอรี/วัน
  • เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ต้องการพลังงานโดยเฉลี่ยลดลง 10 – 12 % ของกลุ่มอายุ 60 – 69 ปี

อาหาร มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ผู้ที่มีภาวะทางโภชนาการดีมีสุขภาพแข็งแรง มีการดำเนินชีวิตที่ดี ไม่เครียดจนเกินไป การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายในร่างกายจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้ไม่ค่อยแก่ ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี เจ็บป่วย ดื่มสุรา มีน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ร่างกายจะเสื่อมโทรมเร็วทำให้แก่เร็ว

ดังนั้น การแก้ปัญหาเรื่องอาหารการกินหรือโภชนาการในผู้สูงอายุ มีข้อคิดอยู่ว่า ขอให้รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และควบคุมปริมาณ โดยดูจากการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากขึ้น และในกรณีน้ำหนักเกินอยู่แล้ว ควรจะลดน้ำหนักให้ลงมาตามที่ควรเป็นด้วย เพราะโครงสร้างของท่านเสื่อมตามวัย ถ้ายังต้องแบกน้ำหนักมาก ๆ จะเป็นปัญหาได้


อาหารสำหรับผู้สูงอายุควรกินอย่างไรจึงเหมาะสม 

โภชนาการและอาหารสำหรับผู้สูงอายุคือสิ่งสำคัญ ผู้สูงอายุควรได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเช่นเดียวกับบุคคลวัยอื่น ๆ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงอยู่แล้ว ควรได้รับสารอาหารครบถ้วนอย่างพอดี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

1. นม

นมเป็นอาหารให้สารอาหารโปรตีน และเเคลเซียมสูง แคลเซียมสามารถกันโรคที่พบมากในผู้สูงอายุคือ โรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในเพศหญิง โรคนี้เป็นเหมือนภัยเงียบ แรก ๆ ไม่มีอาการที่ชัดเจน อาจรู้สึกเพียงแค่ปวดเมื่อย จนเมื่อกระดูกพรุนหรือบางมากก็จะเริ่มปวดกระดูก โดยเฉพาะที่หลังและสะโพก สาเหตุหลักเกิดจากการดูดซึมของแคลเซียมในผู้สูงอายุลดลง และได้รับแคลเซียมจากอาหารน้อย แหล่งของแคลเซียมซึ่งพบมากใน นม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง ผักใบเขียวเข้ม เป็นต้น ซึ่งปริมาณแคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารจะมีปริมาณต่างกัน

โดยผู้สูงอายุควรดื่มนมวันละ 1 แก้ว โดยควรดื่มนมพร่องมันเนย หรือ นมขาดมันเนยเพราะจะมีไขมันน้อย และมีแคลเซียมสูง แต่ถ้าอยากดื่มนมโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวก็จะมีความหวานมากขึ้น เพิ่มแคลอรี่มากขึ้น  ผู้สูงอายุบางท่านที่ดื่มนมไม่ได้ ดื่มแล้วท้องเสีย ควรดื่มนมถั่วเหลือง แคลเซียมชนิดที่เป็นยาเม็ดก็สามารถเลือกกินได้ ดังนั้น ควรเลือกกินแต่พอดี การกินมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจะไม่มีประโยชน์ต่อกระดูก แต่กลับจะทำให้ท้องผูกได้

2. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือแป้งและน้ำตาล

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก และมันสำปะหลัง กลุ่มนี้เป็นสารอาหารหลัก และให้พลังงานแก่ร่างกายมากกว่าสารอาหารจากกลุ่มอื่น ผู้สูงอายุจึงควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้แต่พออิ่ม เนื่องจากความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อลดลง เพราะส่วนที่เกินจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามที่ต่าง ๆ อันจะเป็นผลเสียต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม มีผลต่อข้อเข่า ทำให้เสื่อมเร็วขึ้นและปวดเข่าเวลาเดินในภายหลัง

ดังนั้น ควรรับประทานแป้งและน้ำตาลให้ลดน้อยลง ไม่มากจนเกินไป ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น ข้าว 1 จาน มื้อละ 2 ทัพพี ควรเลือกเป็นข้าวไม่ขัดสี และไม่ควรรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มาก หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัดและของหวานทุกชนิด หากรับประทานมากเกินไปจะสะสมเป็นไขมัน  หากผู้สูงอายุต้องการรับประทานข้าวกล้องก็ควรหุงให้นิ่ม ข้าวกล้องนอกจากจะให้พลังงานแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้อีกด้วย

อาหาร ผู้สูงอายุ ประเภทคาร์โบไฮเดรต

3. อาหารประเภทโปรตีน หรือเนื้อสัตว์ งาและถั่วชนิดต่าง ๆ

อาหารประเภทโปรตีน หรือเนื้อสัตว์ งาและถั่วชนิดต่าง ๆ อาหารกลุ่มนี้จำเป็นในการซ่อมแซม และสร้างเนื้อเยื่อที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต เนื้อสัตว์ที่ผู้สูงอายุควรรับประทานคือ เนื้อสัตว์ที่ไม่มีหนังหรือไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะเนื้อปลาและถั่วชนิดต่าง ๆ เนื้อสัตว์ควรรับประทานประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ  กินไข่วันละ 1 ฟอง หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ฟอง (ถ้าไขมันในเลือดสูงกินเฉพาะไข่ขาว)

เลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา ย่อยง่าย ควรดัดแปลงให้นุ่ม ชิ้นเล็ก ๆ เนื้อปลาเป็นอาหารโปรตีนที่ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทาน เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ไขมันต่ำ ควรเลาะก้างออกให้หมด เนื้อปลายังมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ที่สามารถป้องกันหลอดเลือดแข็งและโรคหัวใจได้ รวมทั้งยังมีแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุต้องการอีกด้วย ส่วนพืชจำพวกถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นอาหารประเภทโปรตีน ช่วยซ่อมแซม และสร้างเนื้อเยื่อที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่

ซึ่งผู้สูงอายุแม้จะไม่เจริญเติบโตอีก แต่ร่างกายก็ต้องมีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ เพื่อทดแทนของเดิมที่สูญสลายไปตลอดเวลา ผู้สูงอายุจึงต้องการสารอาหารในกลุ่มโปรตีนมากกว่าในวัยหนุ่มสาวเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว ถั่วชนิดต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาไม่แพงที่ให้คุณค่าไม่แพ้เนื้อสัตว์ ทั้งยังมีกากเส้นใยทำให้ลำไส้บีบตัวดี ป้องกันเรื่องท้องผูกได้

4. อาหารประเภทไขมัน

ไขมันนอกจากจะให้พลังงานและช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ, ดี, อี และ เค แล้ว ยังทำให้อาหารมีรสชาติมากขึ้น  แต่ถ้ารับประทานไขมันมากเกินจะทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง นำมาซึ่งโรคอ้วน โรคหัวใจ และหลอดเลือดแดงตีบแข็งได้ จึงจำกัดปริมาณไขมันควรบริโภค 3-5 ส่วนต่อวัน โดยถั่วเปลือกแข็งหรือเมล็ดพืช มีใยอาหาร โปรตีนสูงขณะเดียวกันมีไขมันสูงด้วย ควรระวังในการบริโภค และเนยเทียมชนิดนิ่มมีปริมาณไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าชนิดแข็งหรือชนิดแท่ง ควรเลือกใช้น้ำมันชนิดไม่อิ่มตัวดีกว่าชนิดอิ่มตัว ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันข้าวโพด ในการปรุงอาหาร เพราะเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย สามารถควบคุมระดับไขมันในเลือด เท่ากับเป็นการช่วยลดภาวะหลอดเลือดแข็ง และโรคหัวใจขาดเลือด

ไขมันและน้ำมันทุกชนิดให้พลังงานสูงเท่ากัน  ควรจำกัดการบริโภคปริมาณน้อยหากกินมากจะทำให้อ้วน และไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ หลีกเลี่ยงน้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหารกะทิซึ่งเป็นน้ำมันจากมะพร้าว หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ เช่น หนังไก่ หนังหมู ไข่แดง อาหารกลุ่มนี้จะให้ไขมันสูงมาก ซึ่งถ้ารับประทานมากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก ทำให้หลอดเลือดแข็ง และเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญลดลง เช่น สมอง และหัวใจ

5. อาหารประเภทผักและผลไม้ต่าง ๆ

อาหารประเภทผักต่าง ๆ ได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้าผักกวางตุ้ง ฯลฯ ผักประเภทผล เช่น แตงกวา มะระ ฟักทอง แครอท ฯลฯ เป็นอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารประเภทวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย และมีใยอาหารช่วยให้ระบบขับถ่ายขับถ่ายเป็นปกติ

ในแต่ละวันผู้สูงอายุควรรับประทานผักให้ได้มื้อละ 2 ทัพพี ทั้งสุกและดิบ ผักต่าง ๆ ผู้สูงอายุสามารถกินได้ไม่จำกัดแต่ควรกินหลาย ๆ ชนิดสลับกัน ควรกินผักนึ่งหรือต้มสุกไม่ควรกินผักดิบบ่อย ๆ เพราะย่อยยาก ทำให้ท้องอืดได้

ส่วนอาหารประเภทผลไม้ ให้วิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทานผลไม้ที่เนื้อนุ่มเคี้ยวง่าย ได้แก่ มะละกอ กล้วยสุก ส้ม เป็นต้น และควรรับประทานผลไม้อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 6-8 ชิ้น/คำ สำหรับผู้สูงอายุที่อ้วน หรือเป็นเบาหวานให้หลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน น้อยหน่า เป็นต้น เพราะถ้าหาก ติดหวานอาจเสี่ยงโรค ได้โดยไม่รู้ตัว

อาหาร ผู้สูงอายุ ประเภทผักและผลไม้ต่าง ๆ

6. ใยอาหาร

คนสูงอายุควรรับประทานอาหารที่เป็นพวกใยอาหารมากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการท้องผูก เชื่อกันว่าช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และลดอุบัติการของการเกิดมะเร็งของลำไส้ใหญ่ลงได้ ใยอาหารไม่ได้เป็นสารอาหาร และไม่ได้ให้พลังงาน แต่ร่างกายควรได้รับทุกวัน เพราะช่วยในการขับถ่าย ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุมักมีปัญหาท้องผูกอยู่เสมอ

ใยอาหารช่วยเพิ่มปริมาณ ของอุจจาระ และอุ้มน้ำไว้ ทำให้อุจจาระไม่แข็งตัว และช่วยกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการขับถ่ายได้สะดวก ผู้สูงอายุจึงควรได้รับใยอาหารให้เพียงพอด้วย โดยใยอาหารได้มาจากข้าวซ้อมมือ ถั่วต่าง ๆ ผัก และผลไม้

7. น้ำดื่ม

คนสูงอายุควรรับประทานน้ำประมาณ 1 ลิตร ตลอดทั้งวัน แต่ทั้งนี้ควรจะปรับเองได้ ตามแต่ความต้องการของร่างกาย โดยให้ดูว่า ปัสสาวะมีสีเหลืองอ่อน ๆ เกือบขาว แสดงว่าน้ำในร่างกายเพียงพอแล้ว น้ำเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ให้พลังงาน แต่มีความจำเป็นแก่ร่างกายในการนำพาสารอาหารต่าง ๆ ไปยังอวัยวะภายในร่างกาย และทำให้ผิวพรรณสดใสและเกิดความสดชื่น

น้ำที่ดื่มควรเป็นน้ำสะอาด บริสุทธิ์ ไตของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพน้อยลงในการขับถ่ายของเสีย การดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยให้มีน้ำ ผ่านไปที่ไตมากพอที่จะช่วยไตขับถ่ายของเสียได้ง่ายขึ้น ผู้สูงอายุจึงควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว และนี่เป็น  เคล็ดลับดื่มน้ำ ที่เหมาะสำหรับผู้สูงวัย

 

อาหาร ผู้สูงอายุ จึงมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสามารถมีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้โดยตรง ควรบริโภคอาหารที่หลากหลาย รับประทานอาหารครบทั้ง 5 กลุ่ม โดยควรจะมีความสมดุล และครอบคลุมทุกหมวดหมู่ด้วย


อ้างอิง

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การออกกำลังกายสามารถช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก เพิ่มศักยภาพร่างกาย และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด ต้องจำไว้ว่าการที่ ผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย กิจกรรมที่ทำควรเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และความสามารถของผู้สูงอายุเอง เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บด้วย


ผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย ควรระวังและคำนึงถึงอะไรบ้าง

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุมีความแตกต่างจากการออกกำลังกายในคนหนุ่มสาวมาก เนื่องจากเป็นวัยที่กล้ามเนื้ออ่อนแอกว่าวัยอื่น การทรงตัวอาจทำได้ไม่ดีเท่ากับวัยอื่น และที่สำคัญผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายโดยตรง ดังนั้น เวลา ผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย จึงควรระวัง และคำนึงถึงขีดจำกัดในเรื่องต่าง ๆ เพื่อลดโอกาสการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย เช่น การบาดเจ็บบริเวณกระดูก ข้อต่อ กระดูกอ่อน เอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นต้น โดยข้อควรระวังและควรคำนึงถึง ได้แก่

  1. ควรตรวจสุขภาพก่อนการออกกำลังกาย
  2. หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่มีการเกร็งหรือเบ่งมากเกินไป ในบางรายอาจทำให้ความดันสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะท่าที่ทำให้ต้องกลั้นหายใจ
  3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการปะทะ การแข่งขัน เพราะอาจเกิดอันตราย
  4. ควรเริ่มจากการยืดกล้ามเนื้อและอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง เพราะเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพลงทำให้การออกแรงมาก ๆ เป็นเรื่องยากและก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้
  5. เลือกสวมรองเท้าออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย
  6. ควรมีเพื่อนหรือคนในครอบครัวร่วมออกกำลังกาย อย่างน้อย 1 คน
  7. เลือกกิจกรรมที่ไม่ทำให้เกิดความเครียด
  8. เลือกกิจกรรมที่ทำติดต่อกันได้ 10-15 นาที

ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายอย่างไรจึงพอเหมาะพอดี ไม่เกิดการบาดเจ็บ

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุควรออกกําลังกายอย่างต่อเนื่องนานประมาณ 30-45 นาที แต่ควรเริ่มต้นด้วยเวลาน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาการออกกำลัง โดยอาจจะเลือก กิจกรรมแบบแอโรบิค 150 นาที ต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ 2 วันต่อสัปดาห์ สามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมออกกำลังกายไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน

ที่สำคัญก่อนออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายทุกครั้ง ประมาณ 10 นาที เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ และอย่าหยุดทันทีทันใดภายหลังออกกำลังกาย ให้เวลาในการ คูลดาวน์ ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจและสมอง ซึ่งจะลดอาการปวด เวียนศีรษะลงได้


ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง 

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ การเพิ่มการไหลเวียนโลหิต/เพิ่มการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด (แอโรบิค), การเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ ข้อต่อส่วนต่าง ๆ เป็นการออกกำลังกายฝืนแรงต้าน, การเหยียดยืดข้อต่อส่วนต่าง ๆ ป้องกันอาการข้อยืดติด และการฝึกการทรงตัว โดยรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่

ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง

1. การเดินหรือวิ่งช้า ๆ

ผู้สูงอายุควรเริ่มออกกำลังกายจากเบาไปหนัก โดยเริ่มจากการเดินช้า ๆ เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพสักระยะหนึ่ง จนร่างกายเคยชินกับการเดินแล้วค่อยเพิ่มความเร็วขึ้น เป็นการเดินเร็วหรือการวิ่ง สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าหรือข้อเท้าก็ไม่ควรวิ่ง เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บมากขึ้น

การเดินหรือวิ่งสามารถทำได้ที่สนามหรือสวนสุขภาพ ที่มีอากาศปลอดโปร่ง มีพื้นผิวที่เรียบเพื่อไม่ให้สะดุดล้ม นอกจากนี้ ควรเลือกสวมรองเท้าผ้าใบที่กระชับ เพื่อรักษาข้อต่อต่าง ๆ ไม่ให้ได้รับแรงกระแทกมากเกินไป

2. กายบริหาร

ทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายที่บ้าน โดยสามารถออกกำลังกายได้ทุกสัดส่วน พร้อมทั้งฝึกความอดทน การทรงตัว และความยืดหยุ่นของร่างกาย ซึ่งกายบริหารมีหลายท่าให้เลือกตามความเหมาะสม เช่น เหยียดน่อง เขย่งปลายเท้า ย่อเข่า โยกลำตัว เป็นต้น

3. ว่ายน้ำหรือเดินในน้ำ

 

การออกกำลังกายในน้ำสำหรับผู้สูงอายุ เหมาะกับผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม เพราะการว่ายน้ำช่วยลดแรงกระแทกโดยตรงกับพื้นแข็ง ช่วยในการฝึกกล้ามเนื้อในทุกส่วนของร่างกาย และฝึกการหายใจอย่างเป็นระบบได้ สำหรับผู้สูงอายุที่ว่ายน้ำไม่เป็น สามารถออกกำลังกายได้ โดยการเดินในน้ำไปมา เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงมากขึ้น

4. ขี่จักรยาน

การขี่จักรยานเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีความแข็งแรง เนื่องจากต้องควบคุมจักรยานและออกแรงมากกว่าปกติ การขี่จักรยานช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ได้รับความเพลิดเพลินจากการขี่ไปยังสถานที่ต่าง ๆ และเหมาะกับการไปเป็นหมู่คณะ

5. รำมวยจีน

รำมวยจีนเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ที่ให้ทั้งความอดทน ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ซึ่งนอกจากทางด้านทางกายแล้วยังช่วยในการฝึกจิตใจ และการหายใจให้เป็นไปตามธรรมชาติ  การรำมวยจีนทำให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคมมากขึ้น เนื่องจากจะได้มาร่วมออกกำลังกายกันเป็นกลุ่ม และช่วยสร้าง สังคมผู้สูงอายุ ที่มีความชอบในการดูแลตัวเองอีกด้วย

6. โยคะ

โยคะเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ที่ปฏิบัติมีสุขภาวะที่ดีขึ้น ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แต่การออกกำลังกายด้วยโยคะจะต้องมีการฝึกฝนอย่างถูกวิธีถึงจะได้ผลดีต่อร่างกาย


สรุป

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุให้ได้ผลดีนั้น จะต้องส่งผลต่อระบบร่างกาย จิตใจให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงและลดโอกาสของการเจ็บป่วยได้มากขึ้น โดยจะขึ้นอยู่กับความถี่ในการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายเคยชินและไม่ได้รับการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังมีวิธีการดูแลตัวเองอย่าง ผู้สูงอายุควรกินอาหารแบบไหน ถึงจะดีต่อสุขภาพร่างกาย

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายตามความเหมาะสมของตนเอง ไม่หักโหมจนเกินไป จนทำให้เกิดการบาดเจ็บ จะเป็นประโยชน์กับผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแล้วจะช่วยชะลอความเสื่อมของระบบต่าง ๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุล ในบางครั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคม กรณีออกกำลังกายนอกบ้าน จึงเป็นผลดีต่อสภาพจิตใจโดยตรง ดังนั้น ตัวผู้สูงอายุเอง ควรให้ความสำคัญในการออกกำลังกาย หรือผู้ดูแลควรให้ความสำคัญ และสนับสนุนผู้สูงอายุให้ออกกำลังกายด้วย 


อ้างอิง