Tag

ดูแลผู้สูงอายุ

Browsing

วิธีดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกต้องและสุขภาพดีทั้งกายใจ

“ผู้สูงอายุ” เป็นวัยที่ลูกหลานต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมสมรรถภาพไปตามกาลเวลา รวมไปถึงสภาวะจิตใจที่บอบบางอ่อนไหวได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ ทำให้คนในครอบครัวต้องคอยดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ดังนั้น หากเรามีความรู้และทักษะในการรับมือ และมี วิธีดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีสภาพร่างกาย และจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน พร้อมอยู่กับคนในครอบครัวอย่างยืนนาน


เมื่อต้องดูแลผู้สูงอายุควรเตรียมตัวอย่างไร

วิธีดูแลผู้สูงอายุ

เมื่อต้องดูแลผู้สูงอายุ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงและเตรียมตัว นั่นคือ การศึกษาความรู้เพื่อให้มีความเข้าใจในผู้สูงอายุ ทั้งร่างกายและอารมณ์ที่ผู้ดูแลจะต้องรับมือ เนื่องด้วยสภาพอารมณ์ที่อาจจะมีการแปรปรวน หลงลืม หรือวิตกกังวล และสุขภาพร่างกายที่เสื่อมโทรม เพื่อที่เราจะได้รักษาได้ในเบื้องต้น

พร้อมกันนี้ผู้ดูแลก็จะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สภาวะอารมณ์แจ่มใสละเว้นจากความเครียด ก็จะทำให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนะนำ การดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี


วิธีดูแลผู้สูงอายุ ให้สุขภาพดีทั้งกายใจ

วิธีดูแลผู้สูงอายุ

1. สภาพแวดล้อมที่ดี

สำหรับสภาพแวดล้อมถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวิธีดูแลผู้สูงอายุ และเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยจะต้องปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดีสดชื่น ร่มรื่น เพราะนั่นจะทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกที่ผ่อนคลายมีคุณภาพชีวิตที่ดี

2. ควบคุมเรื่องอาหาร

ในเรื่องของอาหารการกิน เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับดูแลผู้สูงอายุ ในการที่จะให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่เพียงพอและครบถ้วน ถูกสุขอนามัยตามหลักโภชนาการ และเน้นอาหารที่ค่อนข้างย่อยง่าย ไขมันต่ำ

3. หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ

เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยด้วยเช่นกัน เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นกระดูก หรือกล้ามเนื้อ ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมสมรรถภาพช้าลง รวมถึงระบบไหลเวียนต่าง ๆ ให้มีระบบหมุนเวียนที่คล่องตัวมากขึ้น โดยการออกกำลังกายอาจจะเป็นการเดิน การยืนแกว่งแขน บริหารกายภาพ อย่างน้อยวันละ 10 – 20 นาที จะทำให้สุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุแข็งแรงมากขึ้น

4. ควบคุมน้ำหนักตัว

การควบคุมน้ำหนักตัว เป็นสิ่งที่ควรต้องพึงกระทำ เนื่องจากการที่ผู้สูงอายุมีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป อาจเป็นการส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา พร้อมกันนี้การควบคุมน้ำหนักจะช่วยลดในเรื่องของปัญหาข้อและกระดูกอีกด้วย

5. หากิจกรรมทำร่วมกัน

ในวัยของผู้สูงอายุในบางราย เกิดสภาวะอารมณ์แปรปรวน ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์น้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกเหมือนไม่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ซึ่งอาการนี้อาจทำให้สภาพจิตใจนั่นแย่ลง การหากิจกรรมทำร่วมกัน หมั่นหากิจกรรมที่มีประโยชน์ได้ทำร่วมกัน สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว นอกจากนั้น ยังเป็นการผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย

6. หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี

อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรละเลยในการดูแลผู้สูงอายุ นั่นก็คือ การพาไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ที่อาจตามมา เพื่อที่จะได้รักษาอาการได้ทันถ่วงที พร้อมกับการวางแผนรักษาในระยะยาวต่อไป หากต้องพา ผู้สูงอายุตรวจสุขภาพ ควรเตรียมตัวอย่างไร?

7. สังเกตพฤติกรรมอารมณ์และร่างกายของผู้สูงอายุ

ลูกหลานหรือคนในครอบครัว ควรที่จะหมั่นสังเกตพฤติกรรมอารมณ์และร่างกายของผู้สูงอายุ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เพื่อเช็กความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายหรืออารมณ์ เพื่อป้องกันเฝ้าระวังและหาวิธีรักษาได้ทันตั้งแต่เนิ่น ๆ 

8. ละเว้นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ

การดูแลผู้สูงอายุในส่วนของการละเว้นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ควรที่จะ งด ละ เลิก ทั้งหมด เพื่อป้องกันความเสื่อมสภาพของร่างกายที่จะตามมา


ข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ

ข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ

สำหรับวิธีการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากคนในครอบครัวและลูกหลานจะดูแลเอาใจใส่แล้ว ยังมีเรื่องของข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ ก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน หากเราสามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้ผู้สูงอายุก่อเกิดความเครียดได้ ก็จะทำให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งทางกายและจิตใจ เป็นข้อควรระวังที่คนในครอบครัวควรปฏิบัติ

1. ระมัดระวังคำพูดที่กระทบจิตใจ

สิ่งข้อควรระวังอย่างแรก นั่นก็คือ คำพูดของลูกหลานที่มีต่อผู้สูงอายุ การที่จะพูดหรืออธิบายควรที่จะใช้คำพูดหรือการกระทำอย่างระมัดระวัง ไม่พูดจาที่กระแทกหรือใส่อารมณ์ เพราะวัยสูงอายุเป็นวัยที่สภาพจิตใจนั้นบอบบาง

2. ให้ความสำคัญ ไม่ละเลย

ลูกหลานต้องหมั่นเข้าไปถามไถ่พูดคุยกับผู้สูงอายุอยู่บ่อยครั้ง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รู้สึกว่าตนเองนั้นเป็นหนึ่งในคนสำคัญของครอบครัว ในบางเรื่องอาจให้อำนาจในการตัดสินใจ รวมไปถึงการเห็นคุณค่าและเคารพนับถือ 

3. การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม

ในส่วนของวิธีดูแลผู้สูงอายุ ในด้านของสิ่งที่ควรต้องระวัง นั่นก็คือ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุบุคคลนั้น ๆ คนในครอบครัวควรที่จะมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาพื้นฐาน ว่าผู้สูงอายุสามารถทานได้หรือไม่ได้ เพราะหากขาดความรู้ความเข้าใจ อาจส่งผลเสียต่อสุขร่างกายของผู้สูงอายุได้

4.การเกิดอุบัติเหตุ

อีกหนึ่งข้อควรระวังในการดูแลผู้สูงอายุ คือ การดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็น การหกล้ม หรือ พลัดตก ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นสิ่งที่ตามมา เนื่องจากการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ที่ไม่มีความแข็งแรงเคลื่อนไหวตัวไม่สะดวก ดังนั้น การจัดบริเวณที่อยู่อาศัย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญควรจะให้มีความเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

สำหรับวิธีดูแลผู้สูงอายุ หากคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ย่อมจะส่งผลดีให้แก่ผู้สูงอายุที่เราเคารพรัก เพื่อผู้สูงอายุจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ร่าเริงแจ่มใส หากทุกคนช่วยกันหันมาดูแล ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีอายุที่ยืนยาว อยู่ในครอบครัวที่แสนอบอุ่นต่อไปได้


อ้างอิง

สังคมผู้สูงอายุ เป็นสังคมที่เน้นคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นการให้บริการด้านสุขภาพ การเกษียณอายุ ที่พักอาศัยที่มีความเหมาะสม และการพัฒนากิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีชีวิตอย่างมั่นคงและมีคุณภาพได้ตลอดชีวิต เนื่องจากปริมาณผู้สูงอายุในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสังคมต้องการให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและเข้าร่วมกิจกรรมที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาสังคมผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญและควรได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนในสังคม


สังคมผู้สูงอายุ คืออะไร

สังคมผู้สูงอายุ คืออะไร

ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางประชากรอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านโครงสร้างอายุของประชากร ที่มีสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง Aging Society หรือ สังคมผู้สูงอายุ คืออะไรนั้น อ้างอิงจากคำจำกัดความขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN World Population Ageing) ได้นิยามคำว่าสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึง กลุ่มของประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งได้แบ่งระดับของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 

  1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
  2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
  3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่

สำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติสรุปว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548 (2005) โดยมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศและคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในช่วงปี 2567-2568 (2024-2025) สรุปได้ว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับ Aging Society เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2548 แล้วกำลังที่จะเขยิบขึ้นไปสู่สังคม ผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ไม่เกินปี 2567 แน่นอน เราควรเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้และอนาคตอันใกล้อย่างเข้าใจและควรปรับตัว เรียนรู้ให้ได้เท่าทัน

ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัยในประเทศ เพราะการเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องของความมั่นคงทางการเงิน และสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ หากทำให้คนในประเทศเห็นความสำคัญของการดูแลตัวเองในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่ปัจจุบัน เราจะเป็นประเทศที่อยู่ในสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพในอนาคต


เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไรนั้น ต้องสร้างขึ้นทั้งกายและใจ 

การเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างมีคุณภาพเป็นเป้าหมายสำคัญของประเทศไทย โดยค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้สูงอายุในประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ การเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม รายได้ การพัฒนาศักยภาพรวมถึงเรื่องราวของโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงการจัดการกับปัญหาเพื่อหาทางออกสำหรับผู้สูงอายุ เรียกได้ว่าเป็น “เคล็ดลับ” อายุยืนให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น 

เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไร? ในด้านร่างกายก็เป็นผลมาจากเรื่องง่ายๆ อย่างการเคลื่อน ไหวร่างกายหรือออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เชื่อมั้ยว่า แค่เราขยับร่างกายวันละไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ก็อาจจะช่วยต่ออายุคุณให้ยืนยาวไปอีกหลายปี โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ถ้าไม่อยากป่วย จงลุกขึ้นมา

ผู้ที่อายุมากขึ้นและอยู่ในอาการเฉื่อยชา ควรหันมาเริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้าร่วม โปรแกรมใด ๆ ก่อนเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ไปดูคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นออกกำลังกายกันเลย

ขั้นแรกเริ่มด้วยการเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ชื่นชอบมากที่สุด ซึ่งมีความหนักในระดับปานกลาง เพราะการเลือกกิจกรรมที่เราชอบ จะทำให้เราอดทนออกกำลังได้นานขึ้น จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มเวลาในการออกกำลังทีละน้อยทุก ๆ 2-3 วัน จนกระทั่งออกกำลังได้นานต่อเนื่องครั้งละ 30 นาที โดยไม่รู้สึกเหนื่อยเกินไป

เมื่อใช้เวลาออกกำลังครั้งละ 30 นาทีจนอยู่ตัวแล้ว ให้ค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาขึ้นอีก หรือเพิ่มความหนักหน่วงของกิจกรรม หรือทั้งสองอย่างเลยก็ได้ ต่อมาให้เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายให้หลากหลาย เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และได้รับประโยชน์หลาย ๆ ด้าน

2. ออกกำลังกายไล่ความเจ็บป่วย

ผู้ที่ดูแลร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงและกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แม้อายุจะมากขึ้น เรื่องนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดแห่งโบลเดอร์ สหรัฐฯ พบว่า การลดลงของแอนติบอดี อันเนื่องมาจากอายุ เป็นสัญญาณว่าร่างกายมีภูมิคุ้มกันน้อยลง แต่การออกกำลังกายจะช่วยคงสภาพการตอบสนองของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน (T-Cell) อย่างเหมาะสม

ดังนั้น การออกกำลังกายจึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่อยู่ในวัย 50 ปีขึ้นไป เพราะคนในวัยนี้มักมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันได้ง่าย และยังเป็นแนวทางการป้องกัน โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

3. ร่างกายสมบูรณ์ สมองก็ฟิต

ผู้ใหญ่ที่มีร่างกายกระฉับกระเฉงจะมี สมาธิดี อาจช่วยรักษาความจำและต่อสู้กับภาวะความจำเสื่อมได้ จากการศึกษาของนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ไฟน์เบิร์ก แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น พบว่า วิถีชีวิตแบบทำงานนั่งโต๊ะ มีผลเสียโดยตรงต่อความสามารถทางปัญญาและคุณภาพการนอนหลับเมื่อเราอายุมากขึ้น

ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยให้ชายและหญิงอายุ 67-86 ปี ที่ช่วยเหลือตัวเองได้ดี เข้าร่วมการศึกษาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ตามข้อกำหนด โดยให้พวกเขาออกกำลังกายเบาๆ นาน 30 นาที ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 30 นาที และปิดท้ายด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ ถึงปานกลางอีก 30 นาที

ในแต่ละครั้งจะเริ่มต้นด้วยการอบอุ่นร่างกาย เช่น เหยียดแขน ขา และออกกำลังกายเบา ๆ ถึงปานกลาง (เดินหรือออกกำลังร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง) ในช่วงสุดท้ายให้ออกกำลังกายเบา ๆ ถึงปานกลาง ได้แก่ การเดินเร็ว กายบริหาร หรือเต้นรำ และทำให้ร่างกายเย็นลง 10 นาที โดยทั้งหมดนี้ครอบคลุมระยะเวลา 90 นาที

เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสมอง และมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น หลับลึกขึ้น และตื่นระหว่างคืนน้อยลงถึงร้อยละ 4-6

4. อายุไม่ใช่ข้ออ้างอีกต่อไป

การศึกษาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ชายและหญิงอายุระหว่าง 50-60 ปี อยากมีร่างกาย ที่กระฉับกระเฉงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในภาวะหรือมีอุปนิสัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือสูบบุหรี่

โดยนักวิจัยได้เฝ้าติดตามผู้สูงอายุจำนวน 9,611 ราย พบว่า ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 50-60 ปี และยังมีความกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตใน 8 ปีข้างหน้า น้อยกว่าผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะร้อยละ 35 ซึ่งความเสี่ยงที่ลดลงนั้น พบในผู้เข้าร่วมทำการศึกษาที่ออกกำลังกายระดับปานกลางทั่ว ๆ ไป เช่น เดินเล่น ทำสวน และเต้นรำ แม้แต่คนอ้วนก็จะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตน้อยลง หากรู้สึกกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ


การจัดการอารมณ์และสร้างกำลังใจ

การจัดการอารมณ์และสร้างกำลังใจ

นอกจากการดูแลร่างกายแล้ว เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไร? ในด้านจิตใจนั้นใช้หลักจิตวิทยาพร้อมเทคนิคง่าย ๆ ในการจัดการอารมณ์ของตัวเอง และสร้างกำลังใจให้สามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ได้อย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. รู้จักธรรมชาติตนเอง

ถ้ารู้ว่าเวลาที่ตัวเองหิวจัด จะหยิบอาหารที่ใกล้ตัวเข้าปากทันที ก็ต้องรู้จักวางแผนให้ดี วางระบบให้ร่างกายด้วยการเลือกและเตรียมอาหารล่วงหน้า อย่ารอให้หิวก่อน เพราะเมื่อหิว เรามักจะมีความสามารถในการยับยั้งชั่งใจน้อยลง แนะนำ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ต้องกินแบบไหนถึงดีต่อร่างกาย

2. คำพูดสร้างพลัง

หาคำพูดที่จะช่วยดึงสติให้เราเอาชนะใจตัวเองได้ เช่น สำหรับคนที่กำลังคุมน้ำหนัก เมื่อเห็นอาหารมากมายตรงหน้า ลองถามตัวเองว่า “คุ้มไหม” เพื่อเตือนสติ ป้องกันไม่ให้เผลอกินอาหารที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย

3. หมั่นหาความรู้

พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น วิธีการอ่านฉลากโภชนาการ หรือ วิธีการออกกำลังกายที่หลากหลายมากขึ้น

4. รู้จักผ่อนคลาย

ไม่ให้อยู่ในสภาวะกดดัน หรือตึงเครียดจนเกินไป ต้องเรียนรู้ที่จะจัดการความเครียด ไม่จมอยู่กับปัญหา และฝึกปล่อยวาง เทคนิคง่าย ๆ คือการยิ้มให้ตัวเองตอนเช้า เพื่อสร้างอารมณ์ที่ดีรับวันใหม่อย่างแจ่มใส การผ่อนคลายโดยการให้ตัวเองได้ทำกิจกรรมที่ชอบ ยังมีวิธีการจัดการอารมณ์เบื้องต้นที่ง่ายที่สุดคือ การฝึกหายใจให้ยาวและการออกกำลังกาย แต่ถ้าไม่มีเวลา สามารถฝึกหายใจง่าย ๆ ได้ ก่อนและหลังการนอน ช่วงละ 20 ครั้ง

5. มองหาความสุขอย่างง่าย ๆ

คนส่วนใหญ่มักคิดและมองหาความสำเร็จในหน้าที่การงานว่าสามารถทำให้เกิดความสุข จนลืมมองความสุขใกล้ตัวซึ่งเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เช่น ความสุขจากการพูดคุยกับคนในบ้านระหว่างการกินมื้อเย็นร่วมกัน และเมื่อเรามีต้นทุนความสุขดี ๆ การที่เราจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องอื่น ๆ ก็จะง่ายขึ้น

 

การจัดการอารมณ์และสร้างกำลังใจสำหรับผู้สูงอาย เป็นวิธีการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในกายและใจของผู้สูงอาย เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ได้อย่างมีคุณภาพ วิธีการเหล่านี้สามารถทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทำกิจกรรมที่ชอบ การพูดคุยกับเพื่อนฝูง และการอ่านหนังสือหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ นอกจากนี้ ยังสามารถเรียนรู้เทคนิคการจัดการอารมณ์และการสร้างกำลังใจจากสิ่งอื่น ๆ ได้เช่นกัน


อ้างอิง

โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการเสื่อมสมรรถภาพทางร่างกายและสมอง ซึ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติม ดังนั้น การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยจะต้องมีการป้องกันการเกิดโรค และการดูแลรักษาโรคให้เหมาะสม


โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 

โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 

1. โรคสมองเสื่อม

ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงในระบบการทำงานของสมองค่อย ๆ เสื่อมลงหรือบกพร่อง เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ พฤติกรรม และความทรงจำอย่างต่อเนื่อง มักพบมาในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ เครียด ขาดการออกกำลังกายหรือสูบบุหรี่เป็นเวลานาน และผู้คนที่ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคสมอง ส่วนมากจะพบในอายุ 60 ปีขึ้นไป

2. โรคกระดูกพรุน

โรคเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนลดลงในผู้สูงอายุ พบมากในผู้หญิงสูงอายุ โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้แคลมเซียมสลายออกจากกระดูกมากขึ้น กระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง กระดูกบางและเปราะหักง่ายขึ้น ทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก

3. โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าอักเสบ หรือข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ผู้ที่ใช้ข้อเข่ามากเกินไปหรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน การใช้งานขาและหัวเข่าผิดท่าสะสมเป็นเวลานาน หรือเป็นโรคที่ส่งผลกับเข่า เช่น โรคอ้วน โรคเกาต์ และอาการอักเสบของเข่า เป็นต้น

4. โรคเบาหวาน

เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

5. โรคไต

โรคไตในผู้สูงอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนตามอายุ และการโตขึ้นของเยื่อต่อมลูกหมาก ระยะเริ่มแรกมักจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อไตเสื่อมลง จะเกิดการคั่งของเสียในกระแสเลือด และมีอาการต่าง ๆ ตามมา

6. โรคความดันโลหิตสูง

คนปกติจะมีความดันโลหิต 120/80 มิลลิเมตรปรอท ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป การมีภาวะระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และหลอดเลือดสมองตีบและแตก และทำให้เกิดการเสื่อมลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะได้ไม่ดี โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยมาจากความอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย และการได้รับสารเคมีหรือยาบางชนิด

7. โรคตา

ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้น ตาจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงไป โรคตาที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อหิน โรคต้อลม โรคจอประสาทตาเสื่อม ตาแห้ง และน้ำวุ้นตาเสื่อม หากดวงตามีอาการผิดปกติควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที

8. โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคที่คนไทยป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง พบมากในกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุของโรคมักเกิดมาจากการสะสมไขมันของเส้นเลือด อายุที่มากขึ้น กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ และเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น หากปล่อยให้เวลาผ่านไปจนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจขั้นรุนแรง อาจเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน

9. โรคมะเร็ง

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากอายุมากขึ้นเซลล์ในร่างกายนั้นเสื่อมลง และกลายพันธุ์เป็นก้อนเนื้อที่ควบคุมไม่ได้ มะเร็งในผู้ชายสูงอายุ ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งตับอ่อน / มะเร็งในผู้หญิงสูงอายุ มักพบมะเร็งของอวัยวะสืบพันธ์ เช่น มดลูก เต้านม และรังไข่ ส่วนอวัยวะอื่น ๆ ก็มีมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับอ่อน

10. โรคหลอดเลือดสมอง

อีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในสังคมผู้สูงอายุ สาเหตุสำคัญต่อการเสียชีวิตและพิการ โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะมีสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้สมองหยุดทำงานเฉียบพลันมาจากอาการขาดอาหารและเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองตายสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุเพศชายอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป


แนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี 

อาหารสำหรับผู้สูงอายุควรกินอย่างไรจึงเหมาะสม 

  1. เลือกอาหาร วัยนี้ร่างกายมีการใช้พลังงานน้อยลงจากกิจกรรมที่ลดลง จึงควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะปลา และเพิ่มแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักขาด ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก ซึ่งมีอยู่ในนม ถั่วเหลือง ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ และควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนประเภทผัด ทอด จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
  2. ออกกำลังกาย หากไม่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกสัก 30 นาทีต่อครั้ง ทำให้ได้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จะเกิดประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก โดยขั้นตอนการออกกำลังกายจะต้องค่อย ๆ เริ่ม มีการยืดเส้นยืดสายก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มความหนักขึ้นจนถึงระดับที่ต้องการ ทำอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาที่ต้องการ จากนั้นค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ และค่อย ๆ หยุด เพื่อให้ร่างกายและหัวใจได้ปรับตัว แนะนำ ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างไรดี 
  3. สัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้ อาจเป็นสวนสาธารณะใกล้ ๆ สถานที่ท่องเที่ยว หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการปลูกต้นไม้ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดได้
  4. หลีกเลี่ยงอบายมุข ได้แก่ บุหรี่และสุรา จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังช่วยป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ อาชญากรรมต่าง ๆ อันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในขณะนี้
  5. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและโรคที่เป็นอยู่ ส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการหกล้ม
  6. ควบคุมน้ำหนักตัวหรือลดความอ้วน โดยควบคุมอาหารและออกกำลังกายจะช่วยทำให้เกิดความคล่องตัว ลดปัญหาการหกล้ม และความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น การซื้อยากินเอง การใช้ยาเดิมที่เก็บไว้มาใช้รักษาอาการที่เกิดใหม่ หรือรับยาจากผู้อื่นมาใช้ เนื่องจากวัยนี้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตในการกำจัดยาลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยาหรือผลข้างเคียง อาจมีแนวโน้มรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาจะดีที่สุด
  8. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คลำได้ก้อน โดยเฉพาะก้อนโตเร็ว แผลเรื้อรัง มีปัญหาการกลืนอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก ท้องอืดเรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกหรือถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีอาการท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ้าอย่างนี้ล่ะก็ควรพบแพทย์ดีที่สุด
  9. ตรวจสุขภาพประจำปี แนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี หรืออย่างน้อยทุก 3 ปี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ตรวจหาโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และยังมีตรวจการมองเห็น การได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย

สรุป 

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงการป่วยเป็นโรคที่พบบ่อยผู้สูงอายุนั้น ตัวผู้สูงอายุเองตลอดจนผู้ที่ดูแลไม่ควรมองข้ามการตรวจสุขภาพและการดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี ทั้งการควบคุมอาหาร งดสูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่รับประทานยาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้

แนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีอาจมีแนวทางที่แตกต่างกันไปตามความต้องการ ซึ่งแต่ละแนวทางก็มีข้อดีข้อเสียและข้อจำกัดที่แตกต่างกันรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การดูแลผู้สูงอายุด้วยตัวผู้สูงอายุเองคือการที่ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชิวิตได้ด้วยตนเอง โดยมีการพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด ผู้สูงอายุมีความพอใจกับความสุขตามอัตภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้สูงอายุมีความสามารถทำตัวให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม เพื่อสร้างความภูมิใจในคำยกย่องจากสังคมโดยรวมการ สำหรับดูแลผู้สูงอายุด้วยคนในครอบครัวเป็นการดูแลผู้สูงอายุทั้งในเรื่องของปัจจัยสี่ การให้อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และการดูแลรักษาสุขภาพทั้งการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ

สำหรับการดูแลผู้สูงอายุโดยสถาบันต่าง ๆ เช่น สถานสงเคราะห์ สถานพยาบาลหรือสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เป็นต้น มีรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน เป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกเพื่อร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาบริการต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกในชุมชนระหว่างตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว คนในชุมชนและสถาบันทางสังคมต่าง ๆ ที่มีลักษณะการบริการที่แตกต่างกัน การ เตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ แนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี บทบาทสำคัญอยู่ที่ครอบครัวกับผู้สูงอายุ โดยครอบครัวต้องตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุต้องมีเจตคติที่ดีต่อความสูงวัยอันจะทำให้เกิดความเข้าใจ ความเอื้ออาทรอย่างแท้จริงในการดูแลผู้สูงอายุ หากจะเปรียบเทียบความสำคัญระหว่างความรู้ในการปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุกับการส่งเสริมให้คนในครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ความสำคัญจะอยู่ที่การสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับคนในครอบครัวมากกว่า


อ้างอิง

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือต้องให้ความสำคัญกับการ ตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุ เป็นประจำ ซึ่งการตรวจสุขภาพเหล่านี้สามารถช่วยระบุปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้สามารถรักษาและจัดการได้ทันท่วงที นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว ยังต้องส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งการรับประทานอาหารที่ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และทำกิจกรรมทางสังคมอยู่เสมอ ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตและผลลัพธ์ด้านสุขภาพโดยรวม


ตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุ เมื่อต้องเตรียมตัวและเกลี้ยกล่อมผู้สูงอายุให้ไปตรวจ

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ เตรียมตัวอย่างไรและในเบื้องต้นควรตรวจอะไรบ้าง

ผู้สูงอายุหลายคนเข้าใจว่าตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมาตลอด ไม่เจ็บป่วย ไม่มีโรคประจำตัว จึงไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้นคือ มีผู้สูงอายุจำนวนมากไม่ยอมตรวจสุขภาพ เพราะกลัวว่าจะเจอโรคแล้วทำให้ไม่สบายใจ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมารับรู้ความเจ็บป่วยของตนเอง

ดังนั้น จึงควรมีการเตรียมตัวและเกลี้ยกล่อมผู้สูงอายุให้ไปตรวจสุขภาพ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายของแต่ละคนก็ย่อมทรุดโทรมเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ การตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ เพราะจะช่วยคัดกรอง และประเมินความเสี่ยงต่อโรคภัยทั้งหลาย นอกจากนี้การตรวจสุขภาพยังมีส่วนช่วยให้สามารถตรวจพบปัญหาสุขภาพ และสามารถเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วย ก่อนที่โรคเหล่านั้นจะลุกลาม หรือมีอาการรุนแรงจนสายเกินแก้

วิธีการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ

สำหรับการเตรียมตัวโดยทั่วไปก่อนวันที่จะตรวจควรงดอาหาร และน้ำตั้งแต่หลังเที่ยงคืน หรือเป็นเวลา 8-10 ชั่วโมง โดยนอนหลับพักผ่อนมาให้เพียงพอ และนัดหมายกับสถานพยาบาลล่วงหน้า หากไม่สามารถมารับการตรวจได้ควรโทรมาแจ้ง หรือเลื่อนนัดทางสถานพยาบาล ทั้งนี้ หากมียาที่รับประทานอยู่เป็นประจำ หรือมีโรคประจำตัวต่าง ๆ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ

วิธีเกลี้ยกล่อมให้ผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพ

ผู้สูงอายุมักวิตกกังวล หรือกลัวโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ บางคนคิดว่า ถ้าไปตรวจจะทำให้รู้ว่าเป็นโรคอะไร จึงกลัวการตรวจสุขภาพ และไม่อยากไปตรวจ ดังนั้น การจะโน้มน้าวหรือเกลี้ยกล่อมให้ไปตรวจนั้น จึงต้องอธิบายให้ผู้สูงอายุทราบถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพ โดยอาจโน้มน้าวว่า

  1. การเสื่อมสภาพของร่างกายนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากดูแลดี ๆ และไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็จะช่วยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และรู้ทันโรคภัยต่าง ๆ ได้
  2. การตรวจสุขภาพแล้วพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย ยังจะทำให้ตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ส่งผลให้รักษาได้ง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องใช้เวลานาน ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก
  3. ควรอธิบายถึงขั้นตอนในการตรวจให้ผู้สูงอายุสบายใจว่า ไม่ได้ทำให้เจ็บ และไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดด้วย ทำให้ง่ายต่อการโน้มน้าวให้ผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพ 

ขอแนะนำให้ผู้สูงอายุทุกคนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ นอกจากการตรวจร่างกายมาตรฐานแล้ว ยังสามารถทำการตรวจคัดกรองภาวะโรคทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับอายุได้ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะสมองเสื่อม และโรคอื่น ๆ ได้ ซึ่งการคัดกรองเหล่านี้สามารถช่วยตรวจคัดกรองโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ทันท่วงที เพราะ ผู้สูงอายุต้องดูแลทั้งสุขภาพกายและใจ 


ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ในเบื้องต้นควรตรวจอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ในเบื้องต้นควรตรวจอะไรบ้าง 

ดยหลักการแล้วผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพด้านต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ในเบื้องต้นจะมีรายการตรวจต่าง ๆ เช่น ความเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย การทรงตัว หู ตา ช่องปาก การขับถ่าย การออกกำลังกาย การทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจความแข็งแรงของมวลกระดูก ตรวจระดับไขมัน ตรวจภาวะสมองเสื่อม ไปจนถึงการตรวจภายในคัดกรองมะเร็ง

ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำรายการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีรายละเอียด ดังนี้

1. ตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI และวัดความดันโลหิต อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. ตรวจสายตา อายุ 60 – 64 ปี ตรวจทุก 2 – 4 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1 – 2 ปี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็น

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น

  • ตรวจปัสสาวะ ควรตรวจทุกปี เพื่อคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ตรวจหาภาวะซีด ควรตรวจทุกปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป
  • ตรวจหาไขมันในเลือด ควรตรวจทุก 5 ปี
  • ตรวจหาเบาหวาน ควรตรวจทุกปี
  • ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ควรตรวจทุกปี เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของไต

4. ตรวจคัดกรองมะเร็ง

  • มะเร็งปากมดลูก ตรวจทุก 3 ปีจนถึงอายุ 65 ปี
  • มะเร็งเต้านม ตรวจทุกปีจนถึงอายุ 69 ปี
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจอุจจาระทุกปี

5. ประเมินสภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ

  • ภาวะโภชนาการ เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการ และได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม
  • ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหัก
  • ภาวะสมองเสื่อม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต
  • ภาวะซึมเศร้า เพื่อคัดกรองภาวะซึมเศร้า และได้รับการวินิจฉัยช่วยเหลือที่ถูกต้องและเหมาะสม

ข้อดีของการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้อุ่นใจ และคลายความกังวล อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพที่มีประโยชน์จะต้องเป็นการตรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยหาต้นตอของโรคหรือความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรกแล้ว ยังทำให้ง่ายที่จะรักษาให้หายขาดได้หรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ สามารถรับมือกับโรคเรื้อรังและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยคัดกรองความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นี่เป็น 10 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคสูงเป็นทุนเดิม เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพและไม่ไปเร่งการพัฒนาโรคให้เกิดขึ้น เพราะการตรวจสุขภาพเป็นการตรวจสำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรคที่ยังไม่แสดงอาการ ซึ่งการพบปัญหาแต่เนิ่น ๆ ไม่เพียงลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเท่านั้น แต่ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย และที่สำคัญคือไม่ว่าผลการตรวจสุขภาพจะออกมาอย่างไร ก็ห้ามละเลยการดูแลสุขภาพเด็ดขาด


อ้างอิง

การบำรุงรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ นอกจากการออกกำลังกายที่เหมาะสมแล้ว การรับประทาน อาหาร ผู้สูงอายุ ที่มีความสมดุลและเหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง เพื่อให้ได้สารอาหารที่เพียงพอ และครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย


ความสำคัญของอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

ความสำคัญของอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีความต้องการปริมาณอาหารลดลงจากวัยหนุ่มสาว แต่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และสร้างความต้านทานโรค ผู้สูงอายุนั้นต้องการพลังงานน้อยลง เพราะการทำงานของร่างกายมีน้อยลง โดยพลังงานที่ผู้สูงอายุได้รับจากอาหารควรได้รับไม่ควรน้อยกว่า 1200 กิโลแคลอรี/วัน โดยมีรายละเอียดคือ

  • ชาย อายุ 60 – 69 ปี ต้องการพลังงานเฉลี่ยประมาณ 2200 กิโลแคลอรี/วัน
  • หญิง อายุ 60 – 69 ปี ต้องการพลังงานเฉลี่ยประมาณ 1850 กิโลแคลอรี/วัน
  • เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ต้องการพลังงานโดยเฉลี่ยลดลง 10 – 12 % ของกลุ่มอายุ 60 – 69 ปี

อาหาร มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ผู้ที่มีภาวะทางโภชนาการดีมีสุขภาพแข็งแรง มีการดำเนินชีวิตที่ดี ไม่เครียดจนเกินไป การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายในร่างกายจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้ไม่ค่อยแก่ ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี เจ็บป่วย ดื่มสุรา มีน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ร่างกายจะเสื่อมโทรมเร็วทำให้แก่เร็ว

ดังนั้น การแก้ปัญหาเรื่องอาหารการกินหรือโภชนาการในผู้สูงอายุ มีข้อคิดอยู่ว่า ขอให้รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และควบคุมปริมาณ โดยดูจากการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากขึ้น และในกรณีน้ำหนักเกินอยู่แล้ว ควรจะลดน้ำหนักให้ลงมาตามที่ควรเป็นด้วย เพราะโครงสร้างของท่านเสื่อมตามวัย ถ้ายังต้องแบกน้ำหนักมาก ๆ จะเป็นปัญหาได้


อาหารสำหรับผู้สูงอายุควรกินอย่างไรจึงเหมาะสม 

โภชนาการและอาหารสำหรับผู้สูงอายุคือสิ่งสำคัญ ผู้สูงอายุควรได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเช่นเดียวกับบุคคลวัยอื่น ๆ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงอยู่แล้ว ควรได้รับสารอาหารครบถ้วนอย่างพอดี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

1. นม

นมเป็นอาหารให้สารอาหารโปรตีน และเเคลเซียมสูง แคลเซียมสามารถกันโรคที่พบมากในผู้สูงอายุคือ โรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในเพศหญิง โรคนี้เป็นเหมือนภัยเงียบ แรก ๆ ไม่มีอาการที่ชัดเจน อาจรู้สึกเพียงแค่ปวดเมื่อย จนเมื่อกระดูกพรุนหรือบางมากก็จะเริ่มปวดกระดูก โดยเฉพาะที่หลังและสะโพก สาเหตุหลักเกิดจากการดูดซึมของแคลเซียมในผู้สูงอายุลดลง และได้รับแคลเซียมจากอาหารน้อย แหล่งของแคลเซียมซึ่งพบมากใน นม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง ผักใบเขียวเข้ม เป็นต้น ซึ่งปริมาณแคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารจะมีปริมาณต่างกัน

โดยผู้สูงอายุควรดื่มนมวันละ 1 แก้ว โดยควรดื่มนมพร่องมันเนย หรือ นมขาดมันเนยเพราะจะมีไขมันน้อย และมีแคลเซียมสูง แต่ถ้าอยากดื่มนมโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวก็จะมีความหวานมากขึ้น เพิ่มแคลอรี่มากขึ้น  ผู้สูงอายุบางท่านที่ดื่มนมไม่ได้ ดื่มแล้วท้องเสีย ควรดื่มนมถั่วเหลือง แคลเซียมชนิดที่เป็นยาเม็ดก็สามารถเลือกกินได้ ดังนั้น ควรเลือกกินแต่พอดี การกินมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจะไม่มีประโยชน์ต่อกระดูก แต่กลับจะทำให้ท้องผูกได้

2. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือแป้งและน้ำตาล

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก และมันสำปะหลัง กลุ่มนี้เป็นสารอาหารหลัก และให้พลังงานแก่ร่างกายมากกว่าสารอาหารจากกลุ่มอื่น ผู้สูงอายุจึงควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้แต่พออิ่ม เนื่องจากความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อลดลง เพราะส่วนที่เกินจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามที่ต่าง ๆ อันจะเป็นผลเสียต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม มีผลต่อข้อเข่า ทำให้เสื่อมเร็วขึ้นและปวดเข่าเวลาเดินในภายหลัง

ดังนั้น ควรรับประทานแป้งและน้ำตาลให้ลดน้อยลง ไม่มากจนเกินไป ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น ข้าว 1 จาน มื้อละ 2 ทัพพี ควรเลือกเป็นข้าวไม่ขัดสี และไม่ควรรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มาก หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัดและของหวานทุกชนิด หากรับประทานมากเกินไปจะสะสมเป็นไขมัน  หากผู้สูงอายุต้องการรับประทานข้าวกล้องก็ควรหุงให้นิ่ม ข้าวกล้องนอกจากจะให้พลังงานแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้อีกด้วย

อาหาร ผู้สูงอายุ ประเภทคาร์โบไฮเดรต

3. อาหารประเภทโปรตีน หรือเนื้อสัตว์ งาและถั่วชนิดต่าง ๆ

อาหารประเภทโปรตีน หรือเนื้อสัตว์ งาและถั่วชนิดต่าง ๆ อาหารกลุ่มนี้จำเป็นในการซ่อมแซม และสร้างเนื้อเยื่อที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต เนื้อสัตว์ที่ผู้สูงอายุควรรับประทานคือ เนื้อสัตว์ที่ไม่มีหนังหรือไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะเนื้อปลาและถั่วชนิดต่าง ๆ เนื้อสัตว์ควรรับประทานประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ  กินไข่วันละ 1 ฟอง หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ฟอง (ถ้าไขมันในเลือดสูงกินเฉพาะไข่ขาว)

เลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา ย่อยง่าย ควรดัดแปลงให้นุ่ม ชิ้นเล็ก ๆ เนื้อปลาเป็นอาหารโปรตีนที่ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทาน เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ไขมันต่ำ ควรเลาะก้างออกให้หมด เนื้อปลายังมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ที่สามารถป้องกันหลอดเลือดแข็งและโรคหัวใจได้ รวมทั้งยังมีแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุต้องการอีกด้วย ส่วนพืชจำพวกถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นอาหารประเภทโปรตีน ช่วยซ่อมแซม และสร้างเนื้อเยื่อที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่

ซึ่งผู้สูงอายุแม้จะไม่เจริญเติบโตอีก แต่ร่างกายก็ต้องมีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ เพื่อทดแทนของเดิมที่สูญสลายไปตลอดเวลา ผู้สูงอายุจึงต้องการสารอาหารในกลุ่มโปรตีนมากกว่าในวัยหนุ่มสาวเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว ถั่วชนิดต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาไม่แพงที่ให้คุณค่าไม่แพ้เนื้อสัตว์ ทั้งยังมีกากเส้นใยทำให้ลำไส้บีบตัวดี ป้องกันเรื่องท้องผูกได้

4. อาหารประเภทไขมัน

ไขมันนอกจากจะให้พลังงานและช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ, ดี, อี และ เค แล้ว ยังทำให้อาหารมีรสชาติมากขึ้น  แต่ถ้ารับประทานไขมันมากเกินจะทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง นำมาซึ่งโรคอ้วน โรคหัวใจ และหลอดเลือดแดงตีบแข็งได้ จึงจำกัดปริมาณไขมันควรบริโภค 3-5 ส่วนต่อวัน โดยถั่วเปลือกแข็งหรือเมล็ดพืช มีใยอาหาร โปรตีนสูงขณะเดียวกันมีไขมันสูงด้วย ควรระวังในการบริโภค และเนยเทียมชนิดนิ่มมีปริมาณไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าชนิดแข็งหรือชนิดแท่ง ควรเลือกใช้น้ำมันชนิดไม่อิ่มตัวดีกว่าชนิดอิ่มตัว ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันข้าวโพด ในการปรุงอาหาร เพราะเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย สามารถควบคุมระดับไขมันในเลือด เท่ากับเป็นการช่วยลดภาวะหลอดเลือดแข็ง และโรคหัวใจขาดเลือด

ไขมันและน้ำมันทุกชนิดให้พลังงานสูงเท่ากัน  ควรจำกัดการบริโภคปริมาณน้อยหากกินมากจะทำให้อ้วน และไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ หลีกเลี่ยงน้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหารกะทิซึ่งเป็นน้ำมันจากมะพร้าว หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ เช่น หนังไก่ หนังหมู ไข่แดง อาหารกลุ่มนี้จะให้ไขมันสูงมาก ซึ่งถ้ารับประทานมากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก ทำให้หลอดเลือดแข็ง และเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญลดลง เช่น สมอง และหัวใจ

5. อาหารประเภทผักและผลไม้ต่าง ๆ

อาหารประเภทผักต่าง ๆ ได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้าผักกวางตุ้ง ฯลฯ ผักประเภทผล เช่น แตงกวา มะระ ฟักทอง แครอท ฯลฯ เป็นอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารประเภทวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย และมีใยอาหารช่วยให้ระบบขับถ่ายขับถ่ายเป็นปกติ

ในแต่ละวันผู้สูงอายุควรรับประทานผักให้ได้มื้อละ 2 ทัพพี ทั้งสุกและดิบ ผักต่าง ๆ ผู้สูงอายุสามารถกินได้ไม่จำกัดแต่ควรกินหลาย ๆ ชนิดสลับกัน ควรกินผักนึ่งหรือต้มสุกไม่ควรกินผักดิบบ่อย ๆ เพราะย่อยยาก ทำให้ท้องอืดได้

ส่วนอาหารประเภทผลไม้ ให้วิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทานผลไม้ที่เนื้อนุ่มเคี้ยวง่าย ได้แก่ มะละกอ กล้วยสุก ส้ม เป็นต้น และควรรับประทานผลไม้อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 6-8 ชิ้น/คำ สำหรับผู้สูงอายุที่อ้วน หรือเป็นเบาหวานให้หลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน น้อยหน่า เป็นต้น เพราะถ้าหาก ติดหวานอาจเสี่ยงโรค ได้โดยไม่รู้ตัว

อาหาร ผู้สูงอายุ ประเภทผักและผลไม้ต่าง ๆ

6. ใยอาหาร

คนสูงอายุควรรับประทานอาหารที่เป็นพวกใยอาหารมากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการท้องผูก เชื่อกันว่าช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และลดอุบัติการของการเกิดมะเร็งของลำไส้ใหญ่ลงได้ ใยอาหารไม่ได้เป็นสารอาหาร และไม่ได้ให้พลังงาน แต่ร่างกายควรได้รับทุกวัน เพราะช่วยในการขับถ่าย ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุมักมีปัญหาท้องผูกอยู่เสมอ

ใยอาหารช่วยเพิ่มปริมาณ ของอุจจาระ และอุ้มน้ำไว้ ทำให้อุจจาระไม่แข็งตัว และช่วยกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการขับถ่ายได้สะดวก ผู้สูงอายุจึงควรได้รับใยอาหารให้เพียงพอด้วย โดยใยอาหารได้มาจากข้าวซ้อมมือ ถั่วต่าง ๆ ผัก และผลไม้

7. น้ำดื่ม

คนสูงอายุควรรับประทานน้ำประมาณ 1 ลิตร ตลอดทั้งวัน แต่ทั้งนี้ควรจะปรับเองได้ ตามแต่ความต้องการของร่างกาย โดยให้ดูว่า ปัสสาวะมีสีเหลืองอ่อน ๆ เกือบขาว แสดงว่าน้ำในร่างกายเพียงพอแล้ว น้ำเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ให้พลังงาน แต่มีความจำเป็นแก่ร่างกายในการนำพาสารอาหารต่าง ๆ ไปยังอวัยวะภายในร่างกาย และทำให้ผิวพรรณสดใสและเกิดความสดชื่น

น้ำที่ดื่มควรเป็นน้ำสะอาด บริสุทธิ์ ไตของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพน้อยลงในการขับถ่ายของเสีย การดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยให้มีน้ำ ผ่านไปที่ไตมากพอที่จะช่วยไตขับถ่ายของเสียได้ง่ายขึ้น ผู้สูงอายุจึงควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว และนี่เป็น  เคล็ดลับดื่มน้ำ ที่เหมาะสำหรับผู้สูงวัย

 

อาหาร ผู้สูงอายุ จึงมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสามารถมีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้โดยตรง ควรบริโภคอาหารที่หลากหลาย รับประทานอาหารครบทั้ง 5 กลุ่ม โดยควรจะมีความสมดุล และครอบคลุมทุกหมวดหมู่ด้วย


อ้างอิง

การดูแลผู้สูงอายุ เป็นเรื่องสำคัญมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้สูงอายุมีความต้องการและอาจมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม การดูแลผู้สูงอายุมีหลายวิธี โดยสามารถส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ หากคุณต้องการดูแลผู้สูงอายุให้ดี ทำได้โดยการให้ความรักและความห่วงใย รวมทั้งการให้การดูแลสุขภาพที่ดี และการจัดการอาหารที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังสามารถให้กิจกรรมสันทนาการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้สูงอายุได้อีกด้วย


ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ บ่งชี้ว่าต้องให้ความสำคัญใน การดูแลผู้สูงอายุ

ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ บ่งชี้ว่าต้องให้ความสำคัญใน การดูแลผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้สูงอายุหลายคนมักรู้สึกเหนื่อยง่ายและเคลื่อนไหวได้ช้าลง ผู้สูงอายุบางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลียและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบากขึ้น อาการเหล่านี้เป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เราเรียกว่าภาวะแบบนี้ว่า ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ หรือเฟรลตี้ (Frailty) ซึ่งบุคคลในครอบครัวต้องหมั่นสังเกตว่าญาติผู้ใหญ่ของเราเกิดอาการภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุหรือไม่ โดยอาการที่อาจจะเกิด ได้แก่

  • รูปร่างผอมลง น้ำหนักตัวลดลงประมาณ 5 กิโลกรัมหรือมากกว่านั้น
  • เกิดอาการอ่อนเพลีย ยืนเองไม่ค่อยได้หรือไม่มีแรงที่จะถือสิ่งของ
  • รู้สึกเหนื่อยง่ายมาก ทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ ทำเพียงนิดหน่อยก็จะมีอาการเหนื่อย
  • สมรรถภาพในการทำกิจกรรมลดลง อาทิ ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เคยชอบ แต่ทำไม่ได้เหมือนแต่ก่อน
  • เดินช้าลง โดยใช้เวลาเดินในระยะทาง 5 เมตร มากกว่า 6-7 วินาที

โดยหากเกิดอาการ 3 อย่างขึ้นไป อาจหมายถึงว่าผู้สูงอายุประสบภาวะดังกล่าวอยู่ ควรให้ความสำคัญเพื่อจะได้มีสุขภาพดีขึ้น ซึ่งอาการภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้การแต่งตัว ตื่นนอน ลุกจากเตียง เดินเข้าห้องน้ำ หรือไปเที่ยวได้ลำบาก อีกทั้งอาจหกล้มได้ง่าย

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ทำให้ภาวะดังกล่าวแย่ลงอย่างรวดเร็ว เช่น มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีโอกาสติดเชื้อ รวมทั้งฟื้นตัวจากอาการป่วยหรือการได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ ได้ยาก ฉะนั้น บุคคลในครอบครัวจึงควรดูแลญาติผู้ใหญ่ของตนให้มีสุขภาพดีและถูกต้องตามหลักการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้น หมั่นพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอด้วย แนะนำ วิธีการเตรียมตัวพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพ


การดูแลผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง 

1. การดูแลผู้สูงอายุยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

การดูแลผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง 

จะเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน คือ ผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวได้ ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่จะมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีความลำบากหรือติดขัดในการเคลื่อนไหว เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมสมรรถภาพตามอายุ หรือมีปัญหาด้านสุขภาพที่มีโรคประจำตัว การดูแลจะมุ่งเน้นไปในด้านของสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ และการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ดังนี้

1. การดูแลสุขภาพทางร่างกาย

  • ด้านอาหาร ผู้สูงอายุต้องได้รับอาหารอย่างเหมาะสม หลากหลายครบ 5 หมู่ ได้สัดส่วนเพียงพอ เนื่องจากมีกิจกรรมที่ทำได้ไม่มากส่งผลให้แต่ละวันใช้พลังงานลดน้อยลง และควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะปลา และเพิ่มแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก เป็นต้น หลีกเลี่ยงอาหารประเภทหวานจัด เค็มจัด อาหารประเภทผัด ทอด และควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบแทน
  • ด้านการออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เช่น ยืดเหยียด รำไทเก็ก รำไม้พลอง โยคะ เดินเร็ว ว่ายน้ำ เป็นต้น ทำประมาณ 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ การบริหารร่างกายให้ได้ครบทุกส่วนของร่างกาย จะช่วยฝึกกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นของร่างกาย ทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น
  • ด้านสุขอนามัย ผู้สูงอายุควรลด ละ เลิก สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เหล้า บุหรี่ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ผู้ดูแลหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ พร้อมสังเกตการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบขับถ่าย และพาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือตามที่แพทย์นัดหมาย

2. การดูแลสุขภาพจิตใจ การที่ผู้สูงอายุจะต้องอยู่ติดบ้าน จะทำให้เกิดความเครียดและวิตกกังวลได้ง่าย ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวต้องคอยรับฟัง และให้คำปรึกษาให้ผู้สูงอายุได้ระบายความรู้สึกต่าง ๆ และหากิจกรรมทำ เพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือให้ผู้สูงอายุได้พบปะเพื่อนฝูงในวัยเดียวกัน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เมื่อมีกิจกรรมที่ผู้สูงอายุสนใจหรืออยากทำ

3. การป้องกันอุบัติเหตุและอันตราย ผู้สูงอายุที่มีความลำบากหรือติดขัดในการเคลื่อนไหว ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวต้องระวังในเรื่องของการผลัด ตก หก ล้ม ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพที่ถูกต้องเหมาะสม มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างพอเหมาะ มีความปลอดภัย พื้นต้องไม่ลื่น มีราวจับเพื่อช่วยในการทรงตัว โดยเฉพาะสถานที่ที่สามารถเกิดอุบัติเหตุได้บ่อย เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องครัว บริเวณบันไดขึ้น-ลง เป็นต้น

2. การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง

การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง

จะเป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นผู้ป่วยติดเตียง ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา อาจเป็นเพราะเกิดการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังที่เข้าสู่การลุกลามมากขึ้น จนส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งบางคนอาจจะสามารถขยับแขนหรือขาได้บ้าง แต่ยังต้องมีคนช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันทุกอย่าง เช่น การป้อนอาหาร ช่วยล้างหน้าแปรงฟัน ช่วยอาบน้ำ เป็นต้น ในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงอาศัยอยู่ด้วย คนในครอบครัวจะต้องสละเวลาส่วนใหญ่มาคอยดูแลผู้สูงอายุติดเตียงเหล่านี้ เพราะต้องได้รับการดูแลมากกว่าปกติ ทั้งทางด้านร่างกาย และสภาพจิตใจ ข้อมูลเพิ่มเติม ดูแลผู้สูงอายุให้สุขภาพดีทั้งกายใจ

โดยหลักการดูแลนั้น ผู้ดูแลจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องแผลกดทับโดยการหมั่นพลิกตัว เปลี่ยนท่านอนของผู้สูงอายุทุก ๆ 2 ชั่วโมง การขับถ่าย ควรหมั่นดูแลเรื่องความสะอาดและความเปียกชื้น การดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อมโดยรอบที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อของแผล ด้านอาหารควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ลดภาวะท้องอืดและท้องผูก และมีสารอาหารที่ผู้สูงอายุต้องได้รับอย่างครบถ้วน การทำกายภาพบำบัดของผู้สูงอายุที่ต้องนอนติดเตียงให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อต่อต่าง ๆ ติดขัด

รวมไปถึงการดูแลด้านอารมณ์และด้านจิตใจ เพราะผู้สูงอายุที่ติดเตียงมักจะมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย มีความวิตกกังวล กลัวถูกทอดทิ้ง คิดมากเรื่องในอดีต กังวลเรื่องสุขภาพร่างกายที่ถดถอยลงไม่เหมือนเดิม รวมถึงโรคที่เป็นอยู่ จึงต้องการการดูแล และเอาใจใส่จากคนในครอบครัวเป็นพิเศษ เช่น การเข้าไปพูดคุย นำเรื่องไปเล่าให้ฟัง ไปขอคำแนะนำปรึกษาในเรื่องการดูแลบุตรหลาน เป็นการช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า การหากิจกรรมทำร่วมกันทั้งครอบครัว เป็นต้น


อ้างอิง