สิ่งสำคัญอีกอย่างคือต้องให้ความสำคัญกับการ ตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุ เป็นประจำ ซึ่งการตรวจสุขภาพเหล่านี้สามารถช่วยระบุปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้สามารถรักษาและจัดการได้ทันท่วงที นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว ยังต้องส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งการรับประทานอาหารที่ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และทำกิจกรรมทางสังคมอยู่เสมอ ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตและผลลัพธ์ด้านสุขภาพโดยรวม


ตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุ เมื่อต้องเตรียมตัวและเกลี้ยกล่อมผู้สูงอายุให้ไปตรวจ

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ เตรียมตัวอย่างไรและในเบื้องต้นควรตรวจอะไรบ้าง

ผู้สูงอายุหลายคนเข้าใจว่าตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมาตลอด ไม่เจ็บป่วย ไม่มีโรคประจำตัว จึงไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้นคือ มีผู้สูงอายุจำนวนมากไม่ยอมตรวจสุขภาพ เพราะกลัวว่าจะเจอโรคแล้วทำให้ไม่สบายใจ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมารับรู้ความเจ็บป่วยของตนเอง

ดังนั้น จึงควรมีการเตรียมตัวและเกลี้ยกล่อมผู้สูงอายุให้ไปตรวจสุขภาพ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายของแต่ละคนก็ย่อมทรุดโทรมเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ การตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ เพราะจะช่วยคัดกรอง และประเมินความเสี่ยงต่อโรคภัยทั้งหลาย นอกจากนี้การตรวจสุขภาพยังมีส่วนช่วยให้สามารถตรวจพบปัญหาสุขภาพ และสามารถเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วย ก่อนที่โรคเหล่านั้นจะลุกลาม หรือมีอาการรุนแรงจนสายเกินแก้

วิธีการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ

สำหรับการเตรียมตัวโดยทั่วไปก่อนวันที่จะตรวจควรงดอาหาร และน้ำตั้งแต่หลังเที่ยงคืน หรือเป็นเวลา 8-10 ชั่วโมง โดยนอนหลับพักผ่อนมาให้เพียงพอ และนัดหมายกับสถานพยาบาลล่วงหน้า หากไม่สามารถมารับการตรวจได้ควรโทรมาแจ้ง หรือเลื่อนนัดทางสถานพยาบาล ทั้งนี้ หากมียาที่รับประทานอยู่เป็นประจำ หรือมีโรคประจำตัวต่าง ๆ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ

วิธีเกลี้ยกล่อมให้ผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพ

ผู้สูงอายุมักวิตกกังวล หรือกลัวโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ บางคนคิดว่า ถ้าไปตรวจจะทำให้รู้ว่าเป็นโรคอะไร จึงกลัวการตรวจสุขภาพ และไม่อยากไปตรวจ ดังนั้น การจะโน้มน้าวหรือเกลี้ยกล่อมให้ไปตรวจนั้น จึงต้องอธิบายให้ผู้สูงอายุทราบถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพ โดยอาจโน้มน้าวว่า

  1. การเสื่อมสภาพของร่างกายนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากดูแลดี ๆ และไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็จะช่วยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และรู้ทันโรคภัยต่าง ๆ ได้
  2. การตรวจสุขภาพแล้วพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย ยังจะทำให้ตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ส่งผลให้รักษาได้ง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องใช้เวลานาน ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก
  3. ควรอธิบายถึงขั้นตอนในการตรวจให้ผู้สูงอายุสบายใจว่า ไม่ได้ทำให้เจ็บ และไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดด้วย ทำให้ง่ายต่อการโน้มน้าวให้ผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพ 

ขอแนะนำให้ผู้สูงอายุทุกคนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ นอกจากการตรวจร่างกายมาตรฐานแล้ว ยังสามารถทำการตรวจคัดกรองภาวะโรคทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับอายุได้ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะสมองเสื่อม และโรคอื่น ๆ ได้ ซึ่งการคัดกรองเหล่านี้สามารถช่วยตรวจคัดกรองโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ทันท่วงที เพราะ ผู้สูงอายุต้องดูแลทั้งสุขภาพกายและใจ 


ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ในเบื้องต้นควรตรวจอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ในเบื้องต้นควรตรวจอะไรบ้าง 

ดยหลักการแล้วผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพด้านต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ในเบื้องต้นจะมีรายการตรวจต่าง ๆ เช่น ความเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย การทรงตัว หู ตา ช่องปาก การขับถ่าย การออกกำลังกาย การทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจความแข็งแรงของมวลกระดูก ตรวจระดับไขมัน ตรวจภาวะสมองเสื่อม ไปจนถึงการตรวจภายในคัดกรองมะเร็ง

ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำรายการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีรายละเอียด ดังนี้

1. ตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI และวัดความดันโลหิต อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. ตรวจสายตา อายุ 60 – 64 ปี ตรวจทุก 2 – 4 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1 – 2 ปี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็น

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น

  • ตรวจปัสสาวะ ควรตรวจทุกปี เพื่อคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ตรวจหาภาวะซีด ควรตรวจทุกปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป
  • ตรวจหาไขมันในเลือด ควรตรวจทุก 5 ปี
  • ตรวจหาเบาหวาน ควรตรวจทุกปี
  • ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ควรตรวจทุกปี เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของไต

4. ตรวจคัดกรองมะเร็ง

  • มะเร็งปากมดลูก ตรวจทุก 3 ปีจนถึงอายุ 65 ปี
  • มะเร็งเต้านม ตรวจทุกปีจนถึงอายุ 69 ปี
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจอุจจาระทุกปี

5. ประเมินสภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ

  • ภาวะโภชนาการ เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการ และได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม
  • ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหัก
  • ภาวะสมองเสื่อม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต
  • ภาวะซึมเศร้า เพื่อคัดกรองภาวะซึมเศร้า และได้รับการวินิจฉัยช่วยเหลือที่ถูกต้องและเหมาะสม

ข้อดีของการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้อุ่นใจ และคลายความกังวล อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพที่มีประโยชน์จะต้องเป็นการตรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยหาต้นตอของโรคหรือความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรกแล้ว ยังทำให้ง่ายที่จะรักษาให้หายขาดได้หรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ สามารถรับมือกับโรคเรื้อรังและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยคัดกรองความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นี่เป็น 10 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคสูงเป็นทุนเดิม เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพและไม่ไปเร่งการพัฒนาโรคให้เกิดขึ้น เพราะการตรวจสุขภาพเป็นการตรวจสำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรคที่ยังไม่แสดงอาการ ซึ่งการพบปัญหาแต่เนิ่น ๆ ไม่เพียงลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเท่านั้น แต่ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย และที่สำคัญคือไม่ว่าผลการตรวจสุขภาพจะออกมาอย่างไร ก็ห้ามละเลยการดูแลสุขภาพเด็ดขาด


อ้างอิง